คลังเก็บหมวดหมู่: สาระน่ารู้

แหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่”น้ำตกตาดเหมย”

คลิกดูรูปภาพเพิ่มเติม

http://www.tungpheung.go.th/web/2018/01/16/%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%9e%e0%b8%9a%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a8%e0%b9%81%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b9%88%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b9%80%e0%b8%97/

รณรงค์ควบคุมไข้เลือดออกและโรคที่มากับฤดูฝน

เทศบาลตำบลทุ่งผึ้งรณรงค์ให้ความรู้กับประชาชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคที่มากับฤดูฝน

13501748_745488158926286_2210030757760076552_n 13615025_745488172259618_3148026935997950197_n 13620241_745488118926290_3368822709795439397_n

วิธีดูแลสุขภาพในหน้าร้อน(มาก)

เริ่มเข้าสู่หน้าร้อนหลายคนมักมีอาการไม่สบายบ่อย เพื่อไม่ให้หน้าร้อนมาบั่นทอนสุขภาพกาย และลามไปสู่สภาพจิตใจ วันนี้เรามีวิธีดูแลสุขภาพรับมือหน้าร้อนมาฝาก เพื่อความปลอดภัยห่างไกลการเจ็บป่วย

  1. drinkดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว เนื่องจากหน้าร้อนจะสูญเสียเหงื่อมาก ควรหลีกเลี่ยงน้ำหวาน เพราะจะยิ่งทำให้กระหายน้ำมากขึ้น อาจดื่มน้ำผลไม้ หรือน้ำสมุนไพรที่มีรสไม่หวานจัดแทน และ ไม่ควรกินน้ำแข็งหรือดื่มน้ำเย็นจัด ฤดูร้อน อากาศร้อน ต้องหาทางช่วยดับความร้อน เพื่อป้องกันความร้อนกระทบร่างกายมากเกินไป เป็นหลักการที่ ถูกต้อง แต่วิธีการให้ความเย็นแทนที่ที่มีความเย็น ฯลฯ นับว่าไม่เหมาะสม
  2. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากจะทำให้เส้นเลือดขยายตัว ร่างกายสูญเสียน้ำมากขึ้น อาจทำให้เกิดการขาดน้ำ นอกจากนี้ ในหน้าร้อนแอลกอฮอล์จะซึมเข้าสู่กระแสโลหิตได้เร็ว ทำให้เมาง่าย และอาจช็อกหมดสติได้128337
  3. อาหารที่เหมาะสำหรับหน้าร้อน คือ อาหาร   รสขมเย็น เช่น แฟง มะระ สะเดา ช่วยลดความร้อนในร่างกาย นอกจากนี้ ควรเลือกทานอาหารที่สะอาด สด ใหม่ เพื่อป้องกันการเกิดโรคทางเดินอาหารในหน้าร้อน
  4. อย่าออกกำลังกายหักโหม หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายกลางแจ้ง หรือแดดเปรี้ยง จะทำให้เจ็บป่วยง่ายขึ้น การออกกำลังกายสัปดาห์ละ 3-4 วัน ประมาณครึ่งชั่วโมง จะช่วยให้ร่างกายมีภูมิต้านทานโรค
  5. สวมเสื้อผ้าที่ใส่สบาย ระบายความร้อนได้ง่าย และดูแลความสะอาดของร่างกายไม่ให้เกิดการอับชื้น หากเกิดผดผื่นคันควรปรึกษาแพทย์
  6. ใช้ครีมกันแดดเมื่อออกกลางแจ้ง หรือในที่แดดแรง ๆ เพื่อทำไมต้องใช้ครีมป้องกันการเกิดผิวไหม้จากการได้รับแสงแดดมากเกินไป และควรสวมแว่นกันแดดเพื่อปกป้องสายตา อย่าทา ครีมกันแดด อย่างเร่งรีบ แพทย์ผิวหนัง แนะนำให้ทาให้ทั่วถึงแม้แต่ ในร่มผ้า ด้วย โดยทาซ้ำทุก 2 ชั่วโมง และหลัง ว่ายน้ำ แม้ผลิตภัณฑ์จะเป็นสูตรกันน้ำ ก็ตาม โดยควรเลือกที่มีส่วนผสมของ Mexoryl และ Tinosorb เพราะสามารถกรอง รังสียูวีเอและยูวีบี ได้ดี เช่น Vichy, Nivea และ Ambre Solaire จาก Garnier
  7. ไม่ควรนอนให้ลมหรือความเย็นโกรก ความร้อนจากแดดทำให้เสียเหงื่อ เสียพลัง เมื่อนอนหลับตากลมในขณะเหงื่อออก จะทำให้อุณหภูมิร่างกายลดต่ำลง ถ้าอุณหภูมิภายนอกยังสูงอยู่ แล้วเหงื่อไม่สามารถระบายออกมาได้ จะมีความร้อนสะสมอยู่ข้างใน ทำให้เวียนหัว รู้สึกหนักหัว ไม่สดชื่อแจ่มใส อาจทำให้เป็นหวัดได้
  8. อากาศร้อนจัดมีผลต่อ อารมณ์ หงุดหงิด และ หดหู่ (SAD – Seasonal Affective Disorder) จากสถิติ ผู้หญิงจะเป็นมากกว่า ผู้ชาย ดังนั้นลองออกไป เดินเล่น ช่วงบ่ายแก่ ๆ หรือช่วงที่คนไม่มาก สิ่งสำคัญคือ พยายาม กระฉับกระเฉง เข้าไว้1555526_782859781727598_250077588_n

ดูแลสุขภาพกายกันแล้ว ก็อย่าลืมดูแลสุขภาพใจกันด้วย ไม่หงุดหงิดไปกับสภาพอากาศ และอย่ายอมให้ความร้อนมาบั่นทอนสุขภาพนะครับ

ที่มา : https://blog.eduzones.com/jybjub/21104

ผู้สูงอายุกับการออกกำลังกาย

อย่างที่ทราบกันดีว่าการออกกำลังกายมีประโยชน์ต่อสุขภาพทั้งทางกายและจิตใจ เพราะถ้าสุขภาพกายดี สุขภาพจิตใจก็จะดีตามไป ส่งผลให้อายุคนเรายืนยาวมากขึ้น สำหรับผู้สูงอายุแล้วนั้นการออกกำลังกายจะว่าเป็นเรื่องง่ายก็ง่ายเพราะ เป็นวัยที่ภาระหน้าที่ลดน้อยลงแล้ว มีเวลามากขึ้น แต่จะว่ายากก็ยากพอสมควร เพราะในผู้สูงอายุบางคนร่างกายอาจไม่ปกติ เช่น ไม่สบายกาย ไม่สบายใจ ปวดเข่า ปวดเมื่อย ซึมเศร้า เวียนศีรษะ เฉื่อยชา เป็นต้น และผู้สูงอายุมักเอาอาการเหล่านี้มาเป็นข้ออ้างที่จะหลีกเลี่ยงการออกกำลังกาย ดังนั้น บุคคลรอบข้าง ลูกหลานต้องมีส่วนในกาช่วยท่าน ชักชวนท่านให้ลุกขึ้นมาออกกำลังกายทั้งกลับกลุ่มผู้สูงอายุหรือกลับลูกหลานเอง เพื่อให้ท่านรู้สึกผ่อนคลาย สนุกนาน ไม่เบื่อ ไม่เหงา และอยากออกกำลังกาย ดูแลสุขภาพมากขึ้นเรื่อยๆ
ผู้สูงอายุกับการออกกำลังกาย

ดังนั้นเรามาดูกันสิว่ามีวิธีการออกกำลังกายใดบ้าง ที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุในครอบครัวของเรา

1. การเดิน การเดินเป็นวิธีการออกกำลังกายที่ง่ายสำหรับผู้สูงอายุ เพราะไม่หนักและเหนื่อยเกินไป(ยกเว้นสำหรับผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องของการทรงตัว) โดยให้ผู้สูงอายุเดินในระดับที่เกิดการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น แต่ต้องไม่เร็วจนเกินไป หากเดินเร็วไม่ได้ให้เพิ่มระยะเวลาในการเดินแทน

2. การวิ่ง ถ้าหากผู้สูงอายุยังสามารถวิ่งได้ ก็เขาให้วิ่งออกกำลังกายบ้าง แต่ต้องระวังเรื่องข้อเท้าที่ต้องรับน้ำหนักอยู่ตลอดเวลา และควรใส่รองเท้าให้เหมาะสมกับการวิ่งด้วย
kl02
3. การรำมวยจีน การรำไทเก๊ก การเล่นโยคะ การทำกายบริหารเหล่านี้ เป็นการทำกายบริหารที่ง่าย ช้าๆ อาศัยการออกกำลังและควบคุมการหายใจเข้าและหายใจออก ช่วยให้มีสติ มีสมาธิ สถานที่ที่ใช้จะต้องปลอดโปร่ง ผ่อนคลาย และมีผู้ฝึกสอนที่เชี่ยวชาญในด้านกายบริหารแบบนี้พอสมควร

4. การแกว่งแขน การแกว่งแขนนอกจากจะเป็นการช่วยลดพุงลดหน้าท้องแล้ว ยังเป็นการช่วยให้ต่อมน้ำเหลืองได้ขยับ และทำให้น้ำเหลืองไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย และยังช่วยให้การทำงานของอวัยวะต่างๆทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

5. การออกกำลังกายแบบอื่นๆ ที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุแต่ละคน เช่น การเต้นแอร์โรบิก การต่อยมวย การว่ายน้ำ การรำกระบอง ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับภาพร่างกายของท่าน

การออกกำลังกายย่อมมีประโยชน์ต่อสุขภาพของคนทุกๆวัย โดยเฉพาะตัวผู้สูงอายุเอง เมื่อสุขภาพกายดี สุขภาพใจก็จะดีด้วย ทำให้โรคภัยไข้เจ็บทุเลาเบาบางลงได้ด้วย กระปรี้กระเปร่ามากขึ้น สดชื่นแจ่มใส ไม่หลงลืม และรู้สึกมีกำลังกายกำลังใจที่จะใช้ชีวิตอยู่กับลูกหลานไปนานๆ

เตือนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าช่วงปิดเทอม

นายแพทย์อำนวย กาจีนะ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า จากปัจจัยสภาพอากาศที่ร้อน ขอเตือนให้ประชาชนระมัดระวังโรคพิษสุนัขบ้า โดยเฉพาะในเด็ก เนื่องจากช่วงนี้เป็นช่วงปิดเทอม ผู้ปกครองควรดูแลบุตรหลานอย่างใกล้ชิด หากอยู่บ้านเล่นกับสุนัข แมว หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ ให้ระมัดระวังอาจถูกกัดหรือข่วน รวมถึงไม่ไปแหย่สุนัขไม่มีเจ้าของ จากข้อมูลเฝ้าระวังโรค สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 1 มีนาคม 2559 พบผู้ป่วย 3 ราย จาก 3 จังหวัด เสียชีวิตทั้ง 3 ราย จังหวัดที่พบผู้เสียชีวิตคือ ระยอง สมุทรปราการ และ สงขลา

view_resizing_imagesนายแพทย์อำนวย กล่าวต่อว่า สาเหตุส่วนใหญ่ของการเสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้าเกิดจากการถูกสุนัขหรือแมว กัดหรือข่วน ซึ่งผู้เสียชีวิตไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า หรือรับการฉีดวัควีนไม่ครบชุด และไม่มีการล้างแผลหรือปฐมพยาบาลก่อนพบแพทย์ เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสสัมผัสโรคมากที่สุด และแม้ว่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา จะพบผู้เสียชีวิตน้อยกว่า 10 รายต่อปี แต่ยังมีการพบเชื้อในสัตว์เป็นจำนวนมาก

โรคพิษสุนัขบ้าหรือโรคกลัว น้ำ เกิดจากเชื้อไวรัสเรบี่ส์ ที่เกิดได้กับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด เช่น สุนัข แมว หนู กระรอก กระต่าย ลิง ค้างคาว เป็นต้น แต่ในประเทศไทยมักพบในสุนัขมากที่สุด การติดเชื้อจะเกิดจากการถูกสัตว์ที่มีเชื้อไวรัสเรบี่ส์กัด ข่วน หรือน้ำลายกระเด็นเข้าทางตา ปาก หรือบาดแผลตามร่างกาย เชื้อจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นบริเวณที่โดนกัดหรือข่วน จากนั้นจะเข้าสู่ระบบประสาท เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายจนกระทั่งเกิดอาการของโรค ส่วนใหญ่จะใช้เวลาประมาณ 2-8 สัปดาห์ แต่อาจสั้นเพียงแค่ 7 วันหรือยาวเกินกว่า 1 ปี ส่วนอาการของโรคพิษสุนัขบ้า เริ่มจาก 2-3 วันแรกผู้ป่วยจะเบื่ออาหาร ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว มีไข้ ชา เจ็บเสียว หรือปวดบริเวณรอยแผลที่ถูกกัด คันอย่างรุนแรงที่แผลและลำตัว ต่อมาจะมีอาการกระสับกระส่าย กลัวแสง กลัวลม ไม่ชอบเสียงดัง เพ้อเจ้อ กลืนลำบาก โดยเฉพาะของเหลว กลัวน้ำ และกล้ามเนื้อขากระตุก แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก หรืออาจชัก เกร็ง อัมพาต หมดสติ และตายในที่สุด

ด้านการป้องกันโรค ขอแนะนำให้ระมัดระวังการสัมผัสสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะลูกสุนัข และเฝ้าระวังเด็กๆ ไม่ให้เล่นกับสัตว์ที่ไม่คุ้นเคย นอกจากนี้ควรนำสัตว์เลี้ยงไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเป็นประจำทุกปี ที่สำคัญต้องขึ้นทะเบียนสัตว์เลี้ยง และเลี้ยงสุนัขอย่างรับผิดชอบ และรู้จักวิธีป้องกันไม่ให้สุนัขกัดหรือทำร้าย ด้วย คาถา 5 ย. “อย่าแหย่ อย่าเหยียบ อย่าแย่ง อย่าหยิบ อย่ายุ่ง กับสุนัขที่ไม่ปรากฏเจ้าของ หรือไม่ทราบประวัติ” จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า

ในโอกาสนี้ ขอเชิญชวนให้ประชาชนนำสุนัขและแมวไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า หากโดนสุนัขหรือแมวกัด ควรรีบล้างแผลให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่หลายๆครั้ง แล้วเช็ดแผลให้แห้งและใส่ยาฆ่าเชื้อ และรีบไปพบแพทย์ โรคพิษสุนัขบ้านั้นไม่มีทางรักษาให้หายได้ หากติดเชื้อและมีอาการแล้ว จะเสียชีวิตทุกราย ดังนั้นหากพบเห็นสัตว์ที่สงสัยว่าอาจเป็นโรคพิษสุนัขบ้า คือมีอาการหางตก เดินโซเซ น้ำลายย้อย ลิ้นห้อย ตาขวาง ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ หรือผู้นำชุมชน และให้ช่วยกันจับอย่างระมัดระวังอย่าให้ถูกกัดหรือข่วน จากนั้นกักสัตว์ไว้ดูอาการ 10 วัน หากสัตว์ตายให้นำหัวสัตว์หรือตัวสัตว์ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการของกรมปศุ สัตว์ต่อไป หากประชาชนมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร 1422

ที่่มา : http://www.muslim4health.or.th/2014/index.php?op=news-detail&id=665#.VxjziEe-O9w