การปลูกสร้างอาคารบ้านเรือน ที่อยู่อาศัยในเขตเทศบาล

การปลูกสร้างอาคาร บ้านเรือน ที่อยู่อาศัย ให้ไปติดต่อยื่นคำขอให้ที่กองช่างพร้อมหลักฐาน ดังนี้
1.สำเนาโฉนดที่ดิน หรือเอกสารสิทธิที่ดิน จำนวน 1 ฉบับ
2.บัตรประจำตัวประชาชน ผู้ขออนุญาตพร้อมสำเนา จำนวน 1 ฉบับ
3.สำเนาทะเบียนบ้านผู้ขออนุญาต จำนวน 1 ฉบับ
4.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้ยินยอม (เจ้าของที่ดิน) ในกรณีไม่ได้ปลูกสร้างบนที่ดินของตนเอง จำนวน 1 ฉบับ และสำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน 1 ฉบับ
5.แบบก่อสร้างจำนวน 5 ชุดถ้าไม่สามารถมายื่นคำร้องด้วยตนเองได้จะต้องทำหนังสือมอบอำนาจให้ผู้อื่นมาดำเนินการแทนได้

• ถ้าที่ดินที่จะปลูกสร้างไม่ได้เป็นที่ของตนเองจะต้องทำอย่างไร ผู้ยื่นคำร้องจะต้องมีหนังสือยินยอมจากเจ้าของที่ดินมาแสดงพร้อมบัตรประจำ ตัวประชาชนของผู้ยินยอม
• เมื่อได้รับอนุญาตให้ปลูกสร้างบ้านเรือนหรืออาคารเสร็จแล้วเจ้าของบ้านจะ ต้องยื่นคำร้องขอมีเลขบ้านที่งานทะเบียนราษฎร โดยนำหลักฐาน ดังต่อไปนี้
1. สำเนาทะเบียนบ้านผู้แจ้ง
2.บัตรประจำตัวประชาชนพร้อมสำเนาของผู้แจ้ง
3.หนังสือมอบอำนาจของผู้ขออนุญาตปลูกสร้าง(กรณีที่ผู้ขออนุญาตไม่สามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอง)
4.หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินปลูกสร้าง
5.หนังสือเอกสารการได้รับอนุญาตการปลูกสร้างอาคารหรือบ้านเรือน อ.1
6.แบบแปลนอาคารบ้านเรือน
7.รูปถ่ายอาคารบ้านเรือนที่ขออนุญาต

เมื่อ เจ้าหน้าที่ได้รับคำร้องแล้วก็จะดำเนินการตรวจสอบว่ามีการสร้างอาคารหรือ บ้านเรือนตามที่ขอจริงหรือไม่และถูกต้องตามแปลนหรือไม่เมื่อตรวจสอบแล้วถูก ต้องก็จะอนุญาตให้มีเลขที่บ้านได้

การขอเลขที่บ้านจะต้องดำเนินการอย่างไร
เมื่อเจ้าบ้านได้รับอนุญาตให้มีเลขบ้านได้แล้วให้นำหลักฐานดังกล่าวพร้อม ทั้งใบอนุญาตให้มีเลขบ้านได้ไปแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งท้องที่นั้นๆงาน ทะเบียนฯ เพื่อขอเลขประจำบ้าน ภายใน 15 วันนับแต่ได้รับอนุญาตหากไม่ไปแจ้งตามกำหนดมีความผิดตามกฎหมายโทษปรับไม่ เกิน 1,000 บาท

กรณีที่ปลูกบ้านมานานแต่ยังไม่มีเลขประจำบ้านควรทำอย่างไร
ถ้าปลูกบ้านมานานแล้วแต่ยังไม่มีเลขประจำบ้านเจ้าของบ้านต้องไปยื่นขอคำร้อง ขอเลขประจำบ้านได้ที่กองช่าง โดยนำหลักฐาน ดังต่อไปนี้

1. สำเนาทะเบียนบ้านผู้แจ้ง
2. บัตรประจำตัวประชาชนพร้อมสำเนาของผู้แจ้ง
3. หนังสือมอบอำนาจของผู้ขออนุญาตปลูกสร้าง(ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตไม่สามารถดำเนินการเองได้)
4. หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ปลูกสร้าง
5. รูปถ่ายอาคารที่ขออนุญาต
หลักฐานที่นำมาประกอบการขออนุญาตก่อสร้างดัดแปลงต่อเติมอาคาร
1. คำขออนุญาตก่อสร้าง/ดัดแปลง/ต่อเติมอาคาร
2. แผนผังสังเขป แผนผังบริเวณรายการประกอบแบบแปลนจำนวน 5 ชุด
3. หนังสือแสดงความยินยอมของผู้ควบคุมอาคาร จำนวน 1 ฉบับ
4. สำเนาโฉนดที่ดิน/น.ส.3/ส.ค.1 ที่จะทำการก่อสร้างอาคาร/ดัดแปลงอาคาร/ต่อเติมอาคารขนาดเท่ากับต้นฉบับจริง พร้อมรับรองสำเนาถูกต้องแล้ว จำนวน 1 ฉบับ
5. หนังสือยินยอมให้ก่อสร้างอาคารในที่ดินของเจ้าของทุกคน หรือ จากธนาคาร(กรณีก่อสร้างอาคารในที่ดินของเจ้าของทุกคนหรือจากธนาคาร)กรณีก่อ สร้างอาคารในที่ดินของบุคคลอื่นหรือที่ดินที่ได้จำนองกับธนาคารจำนวน 1 ชุด
6. หนังสือแสดงความเป็นตัวแทนของเจ้าของอาคารหรือหนังสือมอบอำนาจ จำนวน 1 ฉบับ
7. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ที่เกี่ยวข้องค่าธรรมเนียมตรวจแบบแปลน

– อาคารสูงไม่เกิน 2 ชั้นหรือสูงไม่เกิน 12 ม. ค่าธรรมเนียม ตร.ม. ละ 0.50 บาท
– ลานจอดรถ ที่กลับรถ และทางเข้าออกของรถ ค่าธรรมเนียม ตร.ม. ละ 0.50 บาท
– อาคารสูงเกิน 2 ชั้นแต่ไม่เกิน 3 ชั้นหรือสูงเกิน 12 ม. แต่ไม่เกิน 15 ม. ค่าธรรมเนียม ตร.ม.ละ  2.00 บาท
– อาคารสูงเกิน 3 ชั้นหรือสูงเกิน 15ม. ค่าธรรมเนียม ตร.ม.ละ 4.00 บาท
– พื้นที่รับน้ำหนัก 500 กก./1 ตร.ม. ค่าธรรมเนียม ตร.ม.ละ 4.00 บาท
– ป้าย ค่าธรรมเนียม ตร.ม.ละ 4.00 บาท
– รั้ว กำแพง ประตู ท่อระบายน้ำ ค่าธรรมเนียม เมตรละ 1.00 บาท
ค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาต
1. ก่อสร้างอาคาร     ใบละ  20  บาท
2. ดัดแปลงอาคาร    ใบละ  10  บาท
3. รื้อถอนอาคาร      ใบละ  10  บาท
4. ใบอนุญาตเคลื่อนย้าย    ฉบับละ  10  บาท
5. ใบอนุญาตเปลี่ยนการใช้  ฉบับละ  20 บาท
6. ใบรับรอง    ฉบับละ 10 บาท
7. ใบแทนใบอนุญาตหรือใบแทนใบรับรอง  ฉบับละ 5 บาท
ค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบอนุญาต
1. ใบอนุญาตก่อสร้าง      ฉบับละ  20  บาท
2. ใบอนุญาตดัดแปลง     ฉบับละ  10  บาท
3. ใบอนุญาตรื้อถอน       ฉบับละ  10  บาท
4. ใบอนุญาตเคลื่อนย้าย   ฉบับละ  10  บาท

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *