คลังเก็บหมวดหมู่: เกี่ยวกับเทศบาล

สายตรงนายกเทศมนตรี

หมายเหตุ ช่อง * หมายถึง ท่านจะต้องกรอกข้อมูลไม่สามารถเว้นว่างได้

วิสัยทัศน์/พันธกิจ/ยุทธศาสตร์การพัฒนา

วิสัยทัศน์
โครงสร้างพื้นฐานดี มีเศรษฐกิจชุมชนเข้มแข็ง
แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ตระหนักการศึกษา
พัฒนาคุณภาพชีวิต

พันธกิจ

  1. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค สาธารณูปการ การไฟฟ้า การวางผังเมือง
  2. ส่งเสริมการศึกษา เป็นปัจจัยสำคัญของการพัฒนาคน พัฒนาท้องถิ่น ส่งเสริมและพัฒนาการศึกษา ระดับก่อนวัยเรียน ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และการศึกษานอกระบบให้มีคุณภาพที่ดีขึ้น
  3. ส่งเสริมภาคเกษตรกรรม ตำบลพึ่งเศรษฐกิจพอเพียง ประชาชนส่วนใหญ่ในเขตเทศบาลตำบลทุ่งผึ้ง มีอาชีพทำการเกษตร การส่งเสริมการแก้ไขปัญหาความยากจนของประชาชน โดยเน้นการดำรงชีวิตอยู่แบบเศรษฐกิจพอเพียง และเศรษฐกิจของชุมชนที่เข้มแข็ง โดยส่งเสริมการประกอบอาชีพเสริม และแก้ไขปัญหาการว่างงานของประชาชนในพื้นที่ เพื่อยกระดับให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น
  4. ส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันรักษาและส่งเสริมสุขภาพอนามัยของประชาชน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส
  5. การส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน การมีส่วนร่วมของประชาชน ประชาคมร่วมระดมความคิดเพื่อเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาเทศบาลตำบลทุ่งผึ้ง การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการท่องเที่ยว มีความสมานฉันท์ การเมือง การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนการบริหารราชการแผ่นดิน และความต้องการของชุมชน การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร และนโยบายการพัฒนาของผู้บริหารท้องถิ่น
  6. ส่งเสริมการอนุรักษ์ การฟื้นฟู การเฝ้าระวัง และป้องกันรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น การแก้ไขปัญหาและบริหารจัดการการกำจัดสิ่งปฏิกูล และมูลฝอย ป่าชุมชน ปลูกป่าของข้างถนน หมอกควัน และไฟป่า
  7. ส่งเสริมสนับสนุนอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาท้อถิ่น ให้อยู่คู่กับท้องถิ่นอย่างยั่นยืน

ยุทธศาสตร์การพัฒนาเทศบาลตำบลทุ่งผึ้ง

ยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
แนวทางการพัฒนา
1.1 การก่อสร้าง ปรับปรุง บำรุงรักษาถนน สะพาน
1.2 การพัฒนาด้านสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ
1.3 การไฟฟ้าสาธารณะ
1.4 การวางผังเมือง

ยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
แนวทางการพัฒนา
2.1 การสร้างจิตสำนึกและความตระหนักในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2.2 การอนุรักษ์ การฟื้นฟู การเฝ้าระวัง และการป้องกันรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ยุทธศาสตร์ที่ 3 ด้านการพัฒนาสังคม/ชุมชน และการรักษาความสงบเรียบร้อย
แนวทางการพัฒนา
3.1 การพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส
3.2 การศึกษา
3.3 การส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
3.4 การป้องกันรักษาและส่งเสริมสุขภาพอนามัยของประชาชน
3.5 การส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน

ยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ
แนวทางการพัฒนา
4.1 การส่งเสริมอาชีพและเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชน
4.2 การส่งเสริมการตลาดและการใช้สินค้าท้องถิ่น
4.3 การส่งเสริมการท่องเที่ยว

ยุทธศาสตร์ที่ 5 ด้านการบริหารและพัฒนาองค์กร
แนวทางการพัฒนา
5.1 การพัฒนาบุคลากร
5.2 การปรับปรุง การพัฒนาเครื่องมือเครื่องใช้ และสถานที่ปฏิบัติ

 

สภาพทั่วไป

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานตำบลทุ่งผึ้ง

  1. ด้านกายภาพ

         1.1 ที่ตั้ง

เทศบาลตำบลทุ่งผึ้ง ตั้งอยู่ เลขที่ 406 หมู่ที่ 2 ตำบลทุ่งผึ้ง อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง ห่างจากที่ว่าการ อำเภอแจ้ห่มไปทางทิศเหนือประมาณ 35 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1035 สายลำปาง-แจ้ห่ม  และถนนเข้าสู่ตำบลทุ่งผึ้ง ตามถนนองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง 3014

         1.2 ลักษณะภูมิประเทศ

ลักษณะภูมิประเทศพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา มีป่าไม้ล้อมรอบ มีที่ลาดเชิงเขา และมีที่ราบลุ่มใกล้แม่น้ำบางส่วน

1.3 ลักษณะภูมิอากาศ

เทศบาลตำบลทุ่งผึ้ง ตั้งอยู่ในเขตอำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง มีสภาพภูมิอากาศ เป็นแบบร้อนชื้น สลับร้อนแห้งแล้ง หรือฝนเมืองร้อนเฉพาะฤดู มี 3 ฤดู

ฤดูร้อน       ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนมิถุนายน

ฤดูฝน        ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม

ฤดูหนาว     ตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์

         1.4 ลักษณะของดิน

                   ลักษณะดินของตำบลทุ่งผึ้ง มีลักษณะองค์ประกอบของดินหลายชนิด เช่น ดินร่วนเหมาะแก่การเพาะปลูก และพื้นที่ประกอบด้วยแหล่งแร่หลายประเภท เช่น ดินขาว  ที่ใช้ในอุตสาหกรรมเซรามิก และดินเหนียว          ที่เหมาะแก่การเพาะปลูก

         1.5 ลักษณะของแหล่งน้ำ

แม่น้ำ 2  สาย              คือ  แม่น้ำวัง  และแม่น้ำแม่ตาก

อ่างเก็บน้ำ  3  แห่ง       คือ  อ่างเก็บน้ำแม่ตาก  อ่างเก็บน้ำแม่ต๋าง  และอ่างเก็บน้ำแม่โกงกาง

         1.6 ลักษณะของไม้/ป่าไม้

ลักษณะของพื้นที่ป่า ส่วนใหญ่เป็นป่าเบญจพรรณ ป่าไม้ค่อนข้างทึบ มีไม้ที่มีค่าหลายชนิด พันธุ์ไม้ เด่นที่พบส่วนใหญ่ประกอบด้วย สัก แดง ประดู่ แสมสาร กระบก กว้าว เก็ดแดง ติ้ว ซ้อ ปอกระสา เป็นต้น

  1. 2. ด้านการเมือง/การปกครอง

         2.1 เขตการปกครอง

เทศบาลตำบลทุ่งผึ้ง ได้รับการยกฐานะตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งผึ้ง อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 113 ตอนพิเศษ 52 ง ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2539 และได้ยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลทุ่งผึ้งตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งผึ้ง อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง เป็นเทศบาลตำบลทุ่งผึ้ง ลงวันที่ 27 ตุลาคม 2552 มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้

ทิศเหนือ            ติดกับ  ตำบลร่องเคาะ และ ตำบลวังทอง อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง
ทิศใต้               ติดกับ  ตำบลปงดอน  อำเภอแจ้ห่ม  จังหวัดลำปาง
ทิศตะวันออก       ติดกับ  ตำบลบ้านร้อง  อำเภองาว  จังหวัดลำปาง
ทิศตะวันตก         ติดกับ  ตำบลแม่สุก อำเภอแจ้ห่ม และตำบลร่องเคาะ อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง

ตำบลทุ่งผึ้งแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 8 หมู่บ้าน ดังนี้

หมู่ที่ 1          บ้านทุ่งฮ้าง

หมู่ที่ 2          บ้านแจ้คอน

หมู่ที่ 3          บ้านหัวฝาย

หมู่ที่ 4          บ้านทุ่งผึ้ง

หมู่ที่ 5          บ้านแม่ช่อฟ้า

หมู่ที่ 6          บ้านแจ้คอน

หมู่ที่ 7          บ้านใหม่สามัคคี (ห้วยวาด)

หมู่ที่ 8          บ้านแม่จอกฟ้า

สำหรับหมู่ที่ 7 และหมู่ที่ 8 ได้มีประกาศจังหวัดลำปาง เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตหมู่บ้าน ลงวันที่ 30 สิงหาคม 2564 ให้แยกหมู่บ้านหมู่ที่ 7 ออกจากหมู่ที่ 5 และแยกหมู่บ้านหมู่ที่ 8 ออกจากหมู่ที่ 1 โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2562 เป็นต้นมา

         2.2 การเลือกตั้ง

เทศบาลตำบลทุ่งผึ้ง ประกอบด้วยหมู่บ้าน 8 หมู่บ้าน แบ่งออกเป็น 2 เขตการพัฒนา

เขต 1  ประกอบด้วย  หมู่ที่   1, 3, 5, 8  มีสมาชิกสภาเทศบาลได้ 6 คน

เขต 2  ประกอบด้วย  หมู่ที่   2, 3, 6, 7  มีสมาชิกสภาเทศบาลได้ 6 คน

โดยจะมีสมาชิกสภาเทศบาลที่จะได้รับการเลือกตั้ง จำนวน 12 คน

  1. ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร (ข้อมูลจากสำนักทะเบียน อำเภอแจ้ห่ม ณ เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2564)

         3.1 ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร

ตำบลทุ่งผึ้ง มีประชาชนทั้งสิ้น 4,102 คน แยกเป็น ชาย 2,018 คน หญิง 2,084 คน มีความหนาแน่นเฉลี่ย 25 คน/ตารางกิโลเมตร มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 1,672 ครัวเรือน แยกเป็น

จำนวนครัวเรือน

หมู่ที่ ชื่อหมู่บ้าน ครัวเรือน
1 บ้านทุ่งฮ้าง 301
2 บ้านแจ้คอน 312
3 บ้านหัวฝาย 233
4 บ้านทุ่งผึ้ง 205
5 บ้านแม่ช่อฟ้า 190
6 บ้านแจ้คอน 231
7 บ้านใหม่สามัคคี 148
8 บ้านแม่จอกฟ้า 52
รวม 1,672

 

จำนวนประชากร

หมู่ที่ ชื่อหมู่บ้าน ครัวเรือน ประชากร (คน) รวมประชากร
ชาย หญิง
1 บ้านทุ่งฮ้าง 301 328 337 665
2 บ้านแจ้คอน 312 335 383 718
3 บ้านหัวฝาย 233 260 286 546
4 บ้านทุ่งผึ้ง 205 290 289 579
5 บ้านแม่ช่อฟ้า 190 207 187 394
6 บ้านแจ้คอน 231 257 259 516
7 บ้านใหม่สามัคคี 148 233 239 472
8 บ้านแม่จอกฟ้า 52 108 104 212
ยอดรวม 1,672 2,018 2,084 4,102

 

หมู่ที่ 1  บ้านทุ่งฮ้าง       นายชาญ          จานแก้ว        เป็นผู้ใหญ่บ้าน

หมู่ที่ 2  บ้านแจ้คอน     นายประสิทธิ์     ประสม            เป็นกำนันตำบลทุ่งผึ้ง

หมู่ที่ 3  บ้านหัวฝาย     นายสุรศักดิ์       มากุลต๊ะ          เป็นผู้ใหญ่บ้าน

หมู่ที่ 4  บ้านทุ่งผึ้ง       นายประพรรณ์   จันทร์ตา          เป็นผู้ใหญ่บ้าน

หมู่ที่ 5  บ้านแม่ช่อฟ้า   นายอุทาน        สมเพราะ         เป็นผู้ใหญ่บ้าน

หมู่ที่ 6  บ้านแจ้คอน      นางวาสนา       ใจหมั้น            เป็นผู้ใหญ่บ้าน

หมู่ที่ 7  บ้านใหม่สามัคคี  นายสุพัด         อาลา             เป็นผู้ใหญ่บ้าน

หมู่ที่ 8  บ้านแม่จอกฟ้า   นายจันทร์ติ๊บ    พงษ์พลวัต        เป็นผู้ใหญ่บ้าน

         3.2 ช่วงอายุและจำนวนประชากร

               จำนวนประชากรทั้งหมด  4,102  คน  แยกเป็น                 

แยกตามช่วงอายุ จำนวน รวม
ชาย หญิง
อายุต่ำกว่า 18 ปี 353 352 705
อายุ 18 – 60 ปี 1,295 1,340 2,635
อายุมากกว่า 60 ปี 370 392 762
รวม 2,018 2,084 4,102

 

4. สภาพทางสังคม

         4.1 การศึกษา

               โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 3 จำนวน 7 แห่ง

– โรงเรียนแจ้คอนวิทยา                       ตั้งอยู่ หมู่ที่ 2 ตำบลทุ่งผึ้ง

– โรงเรียนแจ้คอนวิทยา ห้องเรียนเคลื่อนที่บ้านใหม่สามัคคี (ห้วยวาด) ตั้งอยู่ หมู่ที่ 7 ตำบลทุ่งผึ้ง

– โรงเรียนบ้านทุ่งฮ้าง                          ตั้งอยู่ หมู่ที่ 1 ตำบลทุ่งผึ้ง

– โรงเรียนบ้านหัวฝาย                         ตั้งอยู่ หมู่ที่ 3 ตำบลทุ่งผึ้ง

– โรงเรียนบ้านทุ่งผึ้ง                           ตั้งอยู่ หมู่ที่ 4 ตำบลทุ่งผึ้ง

– โรงเรียนบ้านช่อฟ้า                          ตั้งอยู่ หมู่ที่ 5 ตำบลทุ่งผึ้ง

– โรงเรียนบ้านแม่จอกฟ้า                     ตั้งอยู่ หมู่ที่ 8 ตำบลทุ่งผึ้ง

จำนวนเด็กนักเรียนระดับชั้นอนุบาล – มัธยมศึกษาปีที่ 3 ประจำปีการศึกษา 2564

โรงเรียน จำนวน

นักเรียน

บุคลากร
ผู้บริหาร ครู ครูจ้างสอน
โรงเรียนแจ้คอนวิทยา 137 1 14 2
โรงเรียนบ้านทุ่งฮ้าง 24 1 2 1
โรงเรียนบ้านหัวฝาย 30 1 2
โรงเรียนบ้านทุ่งผึ้ง 25 3 3
โรงเรียนบ้านช่อฟ้า 20 2 1
โรงเรียนบ้านแม่จอกฟ้า 14
รวม 250 3 23 7

               ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลตำบลทุ่งผึ้ง จำนวน 5 ศูนย์ ได้แก่

  1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแจ้คอน            จำนวนเด็กเล็ก  30  คน   ครูผู้ดูแลเด็ก 3  คน
  2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทุ่งผึ้ง              จำนวนเด็กเล็ก   8  คน    ผู้ดูแลเด็ก    1  คน
  3. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านช่อฟ้า              จำนวนเด็กเล็ก  13  คน   ผู้ดูแลเด็ก    1  คน
  4. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแม่จอกฟ้า         จำนวนเด็กเล็ก  6  คน     ผู้ดูแลเด็ก    1  คน
  5. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านใหม่สามัคคี        จำนวนเด็กเล็ก  16  คน   ผู้ดูแลเด็ก    2  คน

               ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน

– ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอแจ้ห่ม ตั้งอยู่ บ้านแจ้คอน หมู่ที่ 2

         4.2 สาธารณสุข

  1. ตำบลทุ่งผึ้ง มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 2 แห่ง สังกัด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอแจ้ห่มประกอบด้วย

1) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแจ้คอน  ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลทุ่งผึ้ง ครอบคลุมพื้นที่     หมู่ที่ 2, 3, 4, 6, 8

2) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งฮ้าง ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลทุ่งผึ้ง ครอบคลุมพื้นที่          หมู่ที่ 1,5,7

  1. ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานประจำหมู่บ้าน (ศสมช.) หมู่ที่ 1-8  จำนวน  1  แห่ง
  2. อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.)                                 จำนวน  144  คน

 4.3 ด้านอาชญากรรม

เทศบาลตำบลทุ่งผึ้ง มีหน่วยงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยที่รับผิดชอบในการดูแลรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งหน่วยป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย/สถานีดับเพลิง ให้บริการประชาชนตลอด  24 ชั่วโมง ตั้งอยู่ ณ สำนักงานเทศบาลตำบลทุ่งผึ้ง มีเครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์สนับสนุนการปฏิบัติงานและบุคลากร ดังนี้

  1. รถยนต์บรรทุกน้ำช่วยดับเพลิง  ขนาดความจุ  6,000 ลิตร              จำนวน   1  คัน
  2. รถยนต์กู้ชีพพร้อมอุปกรณ์                                                   จำนวน   1  คัน
  3. เครื่องสูบน้ำชนิดหาบหาม  พร้อมอุปกรณ์                                  จำนวน   1  เครื่อง
  4. อัตรากำลังเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน                                            จำนวน   4  คน

ด้านความสงบเรียบร้อยในพื้นที่เทศบาลตำบลทุ่งผึ้ง มีหน่วยงานให้ความช่วยเหลือด้านการดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ดังนี้

  1. ที่พักสายตรวจตำบลทุ่งผึ้ง ตั้งอยู่บ้านแจ้คอน หมู่ที่ 2
  2. อาสาสมัครตำรวจบ้าน                                                      จำนวน  60  คน
  3. อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน                                         จำนวน  80  คน
  4. ติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (กล้องวงจรปิด) CCTV                   จำนวน    8  จุด

 

         4.4 ยาเสพติด

เทศบาลตำบลทุ่งผึ้ง มีการจัดทำกิจกรรม/โครงการณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดร่วมกับอำเภอแจ้ห่มเป็นประจำทุกปี รวมถึงการช่วยเหลือการบำบัดผู้ติดยาเสพติด การติดตามหลังการเข้าบำบัดและส่งเสริมอาชีพ

         4.5 การสังคมสงเคราะห์

เทศบาลตำบลทุ่งผึ้ง มีการส่งเสริมสวัสดิการทางสังคมอยู่หลายด้าน มีการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนทุกเพศทุกวัย และมีการส่งเสริมการรวมกลุ่มเพื่อให้เกิดความเข้มแข็งของชุมชน ดังนี้

กลุ่ม/อาสาสมัคร

– กลุ่มแม่บ้าน/สตรี                                             จำนวน     400  คน

– กองทุนสวัสดิการชุมชน                                      จำนวน  1,200  คน

– สภาเด็กและเยาวชนตำบลทุ่งผึ้ง                            จำนวน     227  คน

– อาสาสมัครพัฒนาและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.)     จำนวน         1  คน

– ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนระดับหมู่บ้าน                        จำนวน         8  คน

– ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนระดับตำบล                         จำนวน         2  คน

– อาสาสมัครแรงงานหมู่บ้าน                                  จำนวน         8  คน

– อาสาสมัครแรงงานระดับตำบล                             จำนวน         1  คน

หน่วยบริการทางสังคม

– ชมรมผู้สูงอายุ                                                จำนวน         1  แห่ง

– ศูนย์บริการคนพิการทั่วไป                                   จำนวน         1  แห่ง

– ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน                               จำนวน         1  แห่ง

– สถาบันการเงินชุมชน                                         จำนวน         1  แห่ง

– สหกรณ์ร้านค้าชุมชน                                         จำนวน         1  แห่ง

  1. ระบบบริการพื้นฐาน

         5.1 การคมนาคมขนส่ง

การคมนาคมขนส่ง จากตัวเมืองลำปาง เข้าสู่เทศบาลตำบลทุ่งผึ้ง ใช้เส้นทาง ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1035 ถึงปากทางเข้าสู่พื้นที่สำนักงานเทศบาลตำบลทุ่งผึ้ง ใช้เส้นทาง ถนนองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง 3014 การคมนาคมขนส่ง โดยใช้รถยนต์ส่วนบุคคล รถบรรทุก รถจักรยานยนต์และรถจักรยาน  ตำบลทุ่งผึ้ง มีเส้นทางคมนาคมที่เป็นเส้นทางหลัก ดังนี้

  1. ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 1035
  2. ถนน อบจ.ลำปาง 3014
  3. สะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก จำนวน  7  แห่ง

         5.2 การไฟฟ้า 

ในเขตเทศบาลตำบลทุ่งผึ้ง มีการให้บริการจ่ายกระแสไฟฟ้า โดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค            อำเภอแจ้ห่ม ซึ่งให้บริการไฟฟ้าแก่ประชาชนในเขตพื้นที่ หมู่ที่ 1-7 ในด้านการให้บริการไฟฟ้าสาธารณะ เทศบาลตำบลทุ่งผึ้ง ได้ดำเนินการติดตั้งโคมไฟฟ้าส่องสว่างตามแนวถนน ในซอย จุดตัดทางแยก และสถานที่สำคัญเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนผู้สัญจรไปมาเวลากลางคืนและลดอุบัติเหตุบนท้องถนน รวมถึงลดปัญหาอาชญากรรม

         5.3 การประปา

เทศบาลได้ผลิตน้ำประปาเพื่อให้ประชาชนภายในตำบลทุ่งผึ้ง ได้ใช้ในการอุปโภค บริโภค อย่างทั่วถึง

         5.4 โทรศัพท์

ในเขตเทศบาลตำบลทุ่งผึ้ง มีระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ในการติดต่อสื่อสาร ได้แก่

– ระบบเครือข่าย AIS

– ระบบเครือข่าย True

– ระบบเครือข่าย DTAC (เฉพาะพื้นที่บ้านใหม่สามัคคี ม.7)

         5.5 ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์

ในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลทุ่งผึ้งมีไปรษณีย์และการสื่อสารหรือการขนส่งและวัสดุ ได้แก่

  1.        ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขเอกชน   จำนวน  1  แห่ง
  2.        โทรศัพท์เคลื่อนที่
  3.        หอกระจายข่าวประจำหมู่บ้านทุกหมู่บ้าน
  4.        เว็บไซต์ของเทศบาลตำบลทุ่งผึ้ง www.tungpheung.go.th
  5. วิทยุสื่อสารงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย คลื่นความถี่ 162.525 MHz
  6. การขนส่งโดยรถบรรทุกหรือรถยนต์ส่วนบุคคล

   6. ระบบเศรษฐกิจ

         6.1 การเกษตร

ด้านการเกษตรกรรมในท้องถิ่น ส่วนใหญ่ปลูกข้าว ผักกาดเขียว ข้าวโพด ถั่วแระ มะนาว กระเทียม หอมแดง

         6.2 การประมง

การประมงในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลทุ่งผึ้งจะเป็นลักษณะของการใช้แห หรือ ยอ ในการจับสัตว์น้ำตามแม่น้ำวัง ส่วนมากเพื่อการบริโภคภายในครัวเรือน

         6.3 การปศุสัตว์

ในพื้นที่มีการประกอบกิจการปศุสัตว์ เช่น การเลี้ยงหมู เลี้ยงวัว เลี้ยงไก่ และเลี้ยงแพะ

         6.4 การบริการ

สำหรับด้านการบริการจะเป็นลักษณะของการให้บริการ ดังนี้

  1. อู่ซ่อมรถ จำนวน 6 ร้าน
  2. ร้านเสริมสวย จำนวน 2 ร้าน
  3. ปั้มหลอด จำนวน 6 ร้าน
  4. ร้านอาหาร จำนวน 8 ร้าน
  5. ที่ทำการไปรษณีย์ จำนวน 1 แห่ง
  6. ร้านคอมพิวเตอร์ จำนวน 1 ร้าน

         6.5 การท่องเที่ยว

– น้ำตกตาดเหมย ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท น้ำตกมีทั้งหมด 9 ชั้น มีน้ำไหลตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในช่วงเดือน พฤษภาคม – กันยายน จะสวยงามมาก การเดินทางเข้าสู่น้ำตกตาดเหมยใช้เส้นทางจากบ้านทุ่งฮ้าง หมู่ที่ 1 ถึงน้ำตกตาดเหมย ระยะทางประมาณ 9 กิโลเมตร บริเวณน้ำตกตาดเหมยมีพื้นที่สนามที่กว้างขวางเหมาะแก่การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

– ปางช้างบ้านทุ่งฮ้าง แหล่งท่องเที่ยงเชิงอนุรักษ์ มีบริการนั่งหลังช้างชมจุดต่างๆทางธรรมชาติ มีจุดพัก ห้องน้ำ ร้านขายของ ร้านอาหารให้บริการนักท่องเที่ยว ตั้งอยู่ในพื้นที่บ้านทุ่งฮ้าง หมู่ที่ 1

– บ้านสวนสีขาว แหล่งท่องเที่ยวตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ตั้งอยู่ในพื้นที่บ้านทุ่งฮ้าง หมู่ที่ 1

         6.6 อุตสาหกรรม

มีโรงงานดองผักกาดในหมู่บ้าน โดยซื้อผักกาดของเกษตรกรในหมู่บ้านตำบลทุ่งผึ้ง   จำนวน 1 โรง และมีโรงดองหน่อไม้ จำนวน 1 โรง

         6.7 การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ

ประชากรในพื้นที่ตำบลทุ่งผึ้ง เป็นชุมชนแบบชนบท มีการอาศัยกันไม่หนาแน่น ด้านการขายเป็นลักษณะของร้านค้าปลีก ร้านขายของชำ ของเบ็ดเตล็ด ที่เป็นสินค้าอุปโภค/บริโภค และกลุ่มอาชีพ ดังนี้

  1. ร้านค้า                               จำนวน  38 ร้าน (เป็นสหกรณ์ร้านค้าชุมชน 2 ร้านใน ม.1 และม.5)
  2. โรงน้ำ และ น้ำดื่ม                   จำนวน    2 ร้าน
  3. โรงเลี้ยงสุกร                         จำนวน  13 โรง
  4. โรงเลี้ยงไก่                           จำนวน  7  โรง
  5. โรงเลี้ยงแพะ                         จำนวน  4   โรง
  6. โรงสีข้าว                              จำนวน    1 โรง
  7. บ้านเช่า                               จำนวน    5 หลัง
  8. ลานคอนกรีต/เครื่องช่าง             จำนวน    4 ลาน
  9. เสาสัญญาณโทรคมนาคม            จำนวน    2 เสา
  10. กลุ่มสินค้า OTOP จากเมล็ดมะค่า   จำนวน    1 กลุ่ม

         6.8 แรงงาน

แรงงานภายในตำบลทุ่งผึ้งจะเป็นแรงงานด้านเกษตรกรรม ค่าแรง 300 บาท/วัน

  1. ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม

         7.1 การนับถือศาสนา

ประชากรในเขตเทศบาลตำบลทุ่งผึ้ง ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ โดยมีวัดที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา จำนวน 6 แห่ง

  1. วัดศรีดอนมูล               ตั้งอยู่ที่หมู่ 1     ตำบลทุ่งผึ้ง
  2. วัดพระธาตุมหาโปน       ตั้งอยู่ที่หมู่ 2     ตำบลทุ่งผึ้ง
  3. วัดบ้านหัวฝาย             ตั้งอยู่ที่หมู่ 3     ตำบลทุ่งผึ้ง
  4. วัดบ้านทุ่งผึ้ง               ตั้งอยู่ที่หมู่ 4     ตำบลทุ่งผึ้ง
  5. วัดมหิยังกะ                 ตั้งอยู่ที่หมู่ 5     ตำบลทุ่งผึ้ง
  6. วัดบ้านแจ้คอน             ตั้งอยู่ที่หมู่ 6     ตำบลทุ่งผึ้ง
  7. วัดบ้านแม่จอกฟ้า          ตั้งอยู่ที่หมู่ 8    ตำบลทุ่งผึ้ง

         7.2 ประเพณีและงานประจำปี

ประเพณีท้องถิ่นที่สำคัญ ได้แก่

เดือนเมษายนของทุกปี        ประเพณีสงกรานต์

เดือนกรกฎาคมของทุกปี      ประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา

เดือนตุลาคมของทุกปี          ประเพณีตักบาตรวันออกพรรษา,ประเพณีตานก๋วยสลาก

เดือนพฤศจิกายนของทุกปี    ประเพณีลอยกระทง

         7.3 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น

ประชาชนตำบลทุ่งผึ้งใช้ภาษาล้านนาหรือภาษาคำเมืองเป็นภาษาหลักและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวบ้านตำบลทุ่งผึ้ง ได้แก่

  1.        การนำเมล็ดมะค่ามาทำเครื่องประดับ
  2.        งานจักสานที่ทำจากไม้ไผ่

         7.4 สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก

สินค้าพื้นเมืองที่ขึ้นชื่อของตำบลทุ่งผึ้ง คือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเมล็ดมะค่า เช่น เครื่องประดับของสตรี ของที่ระลึกต่างๆ เป็นสินค้า OTOP ระดับ 4 ดาว

 8. ทรัพยากรธรรมชาติ

         9.1 น้ำ

มีน้ำจากลำห้วย, น้ำจากแม่น้ำวัง, แม่น้ำตาก

         9.2 ป่าไม้

เป็นป่าเบญจพรรณ

         9.3 ภูเขา

เป็นภูเขาสูงสลับกับพื้นที่ลาดเชิงเขา

         9.4 ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ในพื้นที่ของเทศบาลตำบลทุ่งผึ้งส่วนมากเป็นพื้นที่สำหรับเพาะปลูกเป็นที่นา  ไร่  สวน  ที่อยู่อาศัย  ร้านค้า สถานประกอบการ ตามลำดับ  แต่ก็ยังมีพื้นที่ที่เป็นพื้นที่สาธารณะที่สามารถใช้ประโยชน์ร่วมกัน  ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ  ก็ได้แก่  พื้นที่ที่มีดินที่สามารถเพราะปลูกได้  ต้นไม้  น้ำที่ได้จากน้ำฝนตามธรรมชาติที่ใช้ในการเกษตรไม่เพียงพอ ต้องรอฤดูฝน มีแหล่งน้ำใช้ในการเกษตรไม่เพียงพอ  ปัญหาคือยังไม่สามารถหาแหล่งน้ำสำหรับการเกษตรได้เพิ่มขึ้น  เพราะพื้นที่ส่วนมากเป็นของประชาชน  และโครงการปลูกต้นไม้ในวันสำคัญต่างๆ ในพื้นที่ของสาธารณะรวมทั้งปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ให้ร่มรื่นสวยงาม เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน ฯลฯ

ประวัติความเป็นมา

ตำบลทุ่งผึ้ง ได้ก่อตั้งมาเมื่อปี พ.ศ.2425 โดยแยกการปกครองออกมาจาก ตำบลแม่สุก อำเภอแจ้ห่ม ราษฎรได้ตั้งรากฐานอยู่อาศัยและทำมาหากิน ตามที่ลุ่มแม่น้ำตากและแม่น้ำวัง ซึ่งในพื้นที่มีต้นเรียงขนาดใหญ่น้อยขึ้นเป็นจำนวนมาก บริเวณกลางทุ่งนา ตามริมฝั่งแม่น้ำ ประกอบกับ มีผึ้งป่ามาอาศัยต้นเรียงเป็นจำนวนมากหลายร้อยรัง จึงได้ ตั้งชื่อตำบลว่า “ตำบลทุ่งผึ้ง

ตำบลทุ่งผึ้ง ตั้งอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอแจ้ห่ม ประกอบไปด้วย 6 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านทุ่งฮ้าง หมู่ที่ 1 บ้านแจ้คอน หมู่ที่ 2 บ้านหัวฝาย หมู่ที่ 3 บ้านทุ่งผึ้ง หมู่ที่ 4 บ้านช่อฟ้า หมู่ที่ 5 บ้านแจ้คอน หมู่ที่ 6 และหมู่บ้านสาขา 2 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านใหม่สามัคคี (บ้านห้วยวาด) สาขาบ้านทุ่งฮ้าง หมู่ที่ 1 และบ้านแม่จอกฟ้า สาขาบ้านช่อฟ้า หมู่ที่ 5

เทศบาลตำบลทุ่งผึ้ง เดิมมีฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งผึ้ง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งผึ้ง อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 113 ตอนพิเศษ 52 ง ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2539 และต่อมาได้ยกฐานะเป็น เทศบาลตำบลทุ่งผึ้ง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งผึ้ง อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง เป็นเทศบาลตำบลทุ่งผึ้ง ลงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2552 มีเขตการปกครอง จำนวน 6 หมู่บ้าน ประกอบด้วย บ้านทุ่งฮ้าง หมู่ที่ 1 บ้านแจ้คอน หมู่ที่ 2 บ้านหัวฝาย หมู่ที่ 3 บ้านทุ่งผึ้ง หมู่ที่ 4 บ้านแม่ช่อฟ้า หมู่ที่ 5 และบ้านแจ้คอน หมู่ที่ 6 และมีหมู่บ้านสาขา 2 หมู่บ้าน ประกอบด้วย บ้านห้วยวาด สาขาบ้านทุ่งฮ้าง หมู่ที่ 1 และ บ้านแม่จอกฟ้า สาขาบ้านแม่ช่อฟ้า หมู่ที่ 5