เรื่องทั้งหมดโดย admin

การจดทะเบียนพาณิชย์

ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนพาณิชย์
คือ บุคคลธรรมดาคนเดียว หรือหลายคน (ห้างหุ้นส่วนสามัญ) หรือนิติบุคคลรวมทั้งนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่มาตั้ง สำนักงานสาขาในประเทศไทย ซึ่งประกอบกิจการ อันเป็นพาณิชยกิจตามที่กระทรวงพาณิชย์กำหนดพาณิชยกิจที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้ออกประกาศให้ผู้ประกอบกิจการดังต่อไปนี้ ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ คือ

1. ผู้ประกอบกิจการโรงสีข้าวและโรงเลื่อยที่ใช้เครื่องจักร
2. ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าไม่ว่าอย่างใดๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่าง คิดรวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งขายได้เป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป หรือมีสินค้าดังกล่าวไว้เพื่อขายมีค่ารวมทั้งสิ้นเป็นเงินตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป
3. นายหน้าหรือตัวแทนค้าต่างซึ่งทำการเกี่ยวกับสินค้าไม่ว่าอย่างใด ๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตาม และสินค้านั้นมีค่ารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป
4. ผู้ประกอบกิจการหัตถกรรมหรืออุตสาหกรรมไม่ว่าอย่างใด ๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตาม และ ขายสินค้าที่ผลิตได้ คิดราคารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไปหรือในวันหนึ่งวันใด มี สินค้าที่ผลิตได้มีราคารวมทั้งสิ้นตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป
5. ผู้ประกอบกิจการขนส่งทางทะเล การขนส่งโดยเรือกลไฟหรือเรือยนต์ประจำทาง การขนส่งโดยรถไฟ การขนส่งโดยรถราง การขนส่งโดยรถยนต์ประจำทาง การขายทอดตลาด การรับซื้อขายที่ดิน การให้กู้ยืมเงิน การ รับแลกเปลี่ยน หรือซื้อขายเงินตราต่างประเทศ การซื้อหรือขายตั๋วเงิน การธนาคาร การโพยก๊วน การทำโรงรับ จำนำ และการทำโรงแรม
6. ขาย ให้เช่า ผลิต หรือรับจ้างผลิต แผ่นซีดี แถบบันทึก วีดิทัศน์ แผ่นวีดิทัศน์ ดีวีดี หรือแผ่นวีดิทัศน์ ระบบดิจิตอล เฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง
7. ขายอัญมณี หรือเครื่องประดับซึ่งประดับด้วยอัญมณี
8. ซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่าย อินเตอร์เน็ต บริการ อินเตอร์เน็ต ให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย บริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
9. การให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้อินเตอร์เน็ต
10. การให้บริการฟังเพลงและร้องเพลงโดยคาราโอเกะ
11. การให้บริการเครื่องเล่นเกมส์
12. การให้บริการตู้เพลง
13. โรงงานแปรสภาพ แกะสลักและการหัตถกรรมจากงาช้าง การค้าปลีก การค้าส่งงาช้างและผลิตภัณฑ์จากงาช้าง
กำหนดระยะเวลาการจดทะเบียนพาณิชย์
1. จดทะเบียนพาณิชย์ตั้งใหม่ ต้องจดทะเบียนภายใน 30 วันนับแต่วันเริ่มประกอบพาณิชยกิจ
2. การเปลี่ยนแปลงรายการที่จดทะเบียนไว้ตาม (1) ต้องจดทะเบียนภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง
3. เลิกประกอบพาณิชยกิจ ต้องจดทะเบียนภายใน 30 วันนับแต่วันที่เลิกประกอบพาณิชยกิจ
4. ใบทะเบียนพาณิชย์สูญหายต้องยื่นขอใบแทนภายใน 30 วันนับแต่วันสูญหาย
หน้าที่ของผู้ประกอบพาณิชยกิจ
1. ต้องขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนดตามแต่กรณี
2. ต้องแสดงใบทะเบียนพาณิชย์หรือใบแทนใบทะเบียนพาณิชย์ไว้ ณ สำนักงานในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย
3. ต้องจัดให้มีป้ายชื่อที่ใช้ในการประกอบพาณิชยกิจไว้หน้าสำนักงานแห่งใหญ่และ สำนักงานสาขาโดย เปิดเผยภายในเวลา 30 วันนับแต่วันที่จดทะเบียนพาณิชย์ ป้ายชื่อให้เขียนเป็นอักษรไทย อ่านง่ายและชัดเจน จะมีอักษร ต่างประเทศในป้ายชื่อด้วยก็ได้ และจะต้องตรงกับชื่อที่จดทะเบียนไว้ หากเป็นสำนักงานสาขาจะต้องมีคำว่า “สาขา” ไว้ด้วย
4. ต้องไปให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับรายการจดทะเบียนตามคำสั่งของนายทะเบียน
5. ต้องอำนวยความสะดวกแก่นายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งเข้าทำการตรวจสอบในสำนักงานของผู้ประกอบกิจการ
เอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียน ได้แก่
1. คำขอจดทะเบียนพาณิชย์ (แบบ ทพ.)
2. สำเนาบัตรประจำตัวของผู้ประกอบพาณิชยกิจ
3. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ประกอบพาณิชยกิจ
4. กรณีผู้ประกอบพาณิชยกิจมิได้เป็นเจ้าบ้าน  ต้องแนบเอกสารเพิ่มเติม  ดังนี้
4.1 หนังสือให้ความยินยาอมให้ใช้สถานที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่
4.2 สำเนาทะเบียนบ้านที่แสดงให้เห็นว่าผู้ให้ความยินยอมเป็นเจ้าบ้านหรือสำเนา สัญญาเช่าโดยมีผู้ให้ความยินยอมเป็นผู้เช่า  หรือเอกสารอย่างอื่นที่ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เป็นผู้ให้ความยินยอม
4.3 แผนที่แสดงสถานที่ซึ่งใช้ประกอบพาณิชยกิจและสถานที่สำคัญบริเวณใกล้เคียงโดยสังเขป
5. หนังสือมอบอำนาจ  (ถ้ามี)
6. สำเนาบัตรประจำตัวของผู้รับมอบอำนาจ (ถ้ามี)
บทกำหนดโทษ
1. ประกอบพาณิชยกิจโดยไม่จดทะเบียน แสดงรายการเท็จ ไม่ยอมให้ถ้อยคำ ไม่ยอมให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้า ไปตรวจสอบในสำนักงาน มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท กรณีไม่จดทะเบียนอันเป็นความผิด ต่อเนื่อง ปรับอีกวันละไม่เกิน 100 บาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ
2. ถ้าใบทะเบียนพาณิชย์สูญหายไม่ยื่นคำร้องขอใบรับแทน หรือไม่แสดงใบทะเบียนพาณิชย์ไว้ที่สำนักงาน ที่เห็นได้ง่าย ไม่จัดทำป้ายชื่อ มีความผิดปรับไม่เกิน 200 บาท และถ้าเป็นความผิดต่อเนื่อง ปรับอีกวันละไม่เกิน 20 บาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
3. ผู้ประกอบพาณิชยกิจซึ่งกระทำการฉ้อโกงประชาชน ปนสินค้าโดยเจตนาทุจริต ปลอมสินค้า หรือกระทำการทุจริตอื่นใดอย่างร้ายแรงในการประกอบกิจการจะถูกถอนใบทะเบียน พาณิชย์ เมื่อถูกสั่งถอนใบทะเบียน พาณิชย์แล้วจะประกอบกิจการต่อไปไม่ได้ เว้นแต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์จะสั่งให้รับจดทะเบียนพาณิชย์ใหม่
4. ผู้ประกอบพาณิชยกิจที่ถูกสั่งถอนใบทะเบียนพาณิชย์แล้ว ยังฝ่าฝืนประกอบพาณิชยกิจต่อไป มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือทั้งปรับทั้งจำ
ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนพาณิชย์
การขอดำเนินการตาม พ.ร.บ. ทะเบียนพาณิชย์ฯ จะต้องเสียค่าธรรมเนียมตามประเภทของการดำเนินการดังต่อไปนี้
1. จดทะเบียนพาณิชย์ตั้งใหม่ 50 บาท
2. จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงรายการจดทะเบียน ครั้งละ 20 บาท
3. จดทะเบียนเลิกประกอบพาณิชยกิจ 20 บาท
4. ขอให้ออกใบแทนใบทะเบียนพาณิชย์ ฉบับละ 30 บาท
5. ขอตรวจเอกสารของผู้ประกอบพาณิชยกิจรายหนึ่ง ครั้งละ 20 บาท
6. ขอให้เจ้าหน้าที่คัดสำเนาและรับรองสำเนาเอกสารของผู้ประกอบพาณิชยกิจรายหนึ่ง ฉบับละ 30 บาท

งานทะเบียนราษฎร

ทะเบียนบ้าน คือ ทะเบียนประจำบ้านแต่ละบ้าน ซึ่งแสดงเลขประจำบ้าน และรายการของคนทั้งหมดที่อยู่ในบ้าน
เจ้าบ้าน หมายถึง ผู้ซึ่งเป็นหัวหน้าครอบครองบ้านในฐานะเป็นเจ้าของบ้าน ผู้เช่าหรือในฐานะอื่นใดก็ตาม

การแจ้งเกิด
เมื่อมีคนเกิดในบ้านจะต้องทำอย่างไรบ้าง เจ้าบ้าน หรือบิดามารดา จะต้องแจ้งเกิดต่อนายทะเบียนท้องที่นั้น ภายใน 15 วัน นับแต่วันเกิด

ในกรณีที่เด็กเกิดนอกบ้าน ควรทำอย่างไรบ้าง
ให้บิดาหรือมารดา หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้แจ้งต่อนายทะเบียน ผู้รับแจ้ง แห่งท้องที่ที่พึงแจ้งได้ใน 15 วัน นับแต่วันเกิดหรือในกรณีจำเป็นไม่อาจแจ้งได้ตามกำหนดให้แจ้งภายหลังได้ แต่ไม่เกิน 30 วัน

ผู้แจ้งเกิดจะต้องเตรียมเอกสารและดำเนินการอย่างไรบ้าง
1. ให้แจ้งชื่อตัว – ชื่อสกุล ของเด็กเกิดใหม่ พร้อมสำเนาทะเบียนบ้านที่จะเพิ่มชื่อ
2. แจ้งวัน เดือน ปี และสถานที่เกิด ถ้ามีหนังสือรับรองการเกิดจากสถานพยาบาลให้นำมาแสดงด้วย
3. แจ้งชื่อตัว – ชื่อสกุล สัญชาติและที่อยู่ของบิดาและมารดาของเด็ก
4. แจ้งชื่อตัว – ชื่อสกุล และที่อยู่ของผู้แจ้งเกิดตามหลักฐานสำเนาทะเบียนบ้าน หรือบัตรประจำตัวประชาชนที่นำไปแสดง
5. กรณีเด็กที่เกิดในโรงพยาบาล เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลจะเป็นผู้แจ้งเกิดให้

สูติบัตร หรือใบเกิด คืออะไร
สูติบัตร คือหลักฐานที่ทางราชการออกให้เพื่อใช้พิสูจน์ทราบถึงตัวบุคคล และใช้เป็นหลักฐานอ้างถึงสิทธิต่างๆ กรณีถ้าพบเด็กในสภาพแรกเกิด หรือเด็กอ่อนถูกทอดทิ้ง จะต้องนำเด็กแจ้งต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ หรือเจ้าหน้าที่ประชาสงเคราะห์ ในท้องถิ่นที่พบเด็ก

การแจ้งตาย
การแจ้งตาย ควรแจ้งในระยะเวลาเท่าไร การแจ้งตายควรแจ้งภายใน 24 ชั่วโมง

ถ้ามีคนตายในบ้านควรจะทำอย่างไรบ้าง
กรณีที่มีคนตายในบ้านให้เจ้าบ้านเป็นผู้แจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ ที่มีคนตายภายใน 24 ชั่วโมง

กรณีที่พบศพคนตาย ควรทำอย่างไรบ้าง
ถ้าหากพบศพคนตาย ผู้พบศพ ต้องแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนตายหรือพบศพภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่พบศพ ในกรณีนี้จะแจ้งต่อพนักงานปกครองหรือเจ้าหน้าที่ตำรวจก็ได้

การแจ้งตายจะต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง
1. หนังสือรับรองการตาย (ถ้ามี)
2. บัตรประจำตัวประชาชนผู้มาแจ้ง
3. บัตรประจำตัวประชาชนผู้ตาย (ถ้ามี)
4. สำเนาทะเบียนบ้าน ฉบับเจ้าบ้านที่คนตายมีชื่อและรายการบุคคล (ถ้ามี)

การแจ้งย้ายที่อยู่
เมื่อผู้อยู่ในบ้านย้ายออกจากบ้านให้แจ้งย้ายออกภายในกี่วัน ควรแจ้งย้ายออกภายใน 15 วัน นับแต่

วันที่ย้ายออกจากบ้าน
เมื่อมีผู้ย้ายที่อยู่เข้าอยู่ในบ้านให้แจ้งย้ายเข้าภายในกี่วัน ควรแจ้งย้ายเข้าภายใน 15 วันนับแต่วันที่ย้ายเข้ามาอยู่ในบ้าน

หลักฐานในการแจ้งย้ายมีอะไรบ้าง
1. สำเนาทะเบียนบ้าน
2. ใบแจ้งย้ายที่อยู่ ตอนที่ 1 และตอนที่ 2
3. บัตรประจำตัวประชาชนเจ้าบ้าน
4. บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้ง

ถ้าหากต้องการแจ้งย้ายที่อยู่ปลายทาง ต้องทำอย่างไรบ้าง
ผู้ที่ย้ายที่อยู่สามารถไปแจ้งย้ายออกและย้ายเข้า ณ สำนักทะเบียนปลายทางผู้ย้ายที่อยู่เป็นผู้แจ้งย้ายด้วยตนเองต้องนำบัตรประจำ ตัวประชาชนสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านพร้อมคำยินยอมเป็นหนังสือของเจ้า บ้านบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านที่ย้ายเข้าไปอยู่ใหม่

ถ้าต้องการแจ้งย้ายออกต้องทำอย่างไรบ้าง
การแจ้งย้ายออกจะต้องนำบัตรประจำตัวประชาชน (กรณีแจ้งย้ายตัวเอง) สำเนาทะเบียนบ้าน ฉบับเจ้าบ้านที่มีชื่ออยู่ ติดต่อกับเจ้าหน้าที่ขอแจ้งย้ายออก และในกรณีที่จะย้ายผู้อื่นออกจากบ้านท่าน เจ้าบ้านจะต้องนำทะเบียนบ้าน ฉบับเจ้าบ้าน บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าของบ้านพร้อมทั้งแจ้งย้ายสถานที่ที่จะแจ้งย้าย ชื่อเข้าไปอยู่ใหม่

การปลูกสร้างอาคารบ้านเรือน ที่อยู่อาศัยในเขตเทศบาล

การปลูกสร้างอาคาร บ้านเรือน ที่อยู่อาศัย ให้ไปติดต่อยื่นคำขอให้ที่กองช่างพร้อมหลักฐาน ดังนี้
1.สำเนาโฉนดที่ดิน หรือเอกสารสิทธิที่ดิน จำนวน 1 ฉบับ
2.บัตรประจำตัวประชาชน ผู้ขออนุญาตพร้อมสำเนา จำนวน 1 ฉบับ
3.สำเนาทะเบียนบ้านผู้ขออนุญาต จำนวน 1 ฉบับ
4.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้ยินยอม (เจ้าของที่ดิน) ในกรณีไม่ได้ปลูกสร้างบนที่ดินของตนเอง จำนวน 1 ฉบับ และสำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน 1 ฉบับ
5.แบบก่อสร้างจำนวน 5 ชุดถ้าไม่สามารถมายื่นคำร้องด้วยตนเองได้จะต้องทำหนังสือมอบอำนาจให้ผู้อื่นมาดำเนินการแทนได้

• ถ้าที่ดินที่จะปลูกสร้างไม่ได้เป็นที่ของตนเองจะต้องทำอย่างไร ผู้ยื่นคำร้องจะต้องมีหนังสือยินยอมจากเจ้าของที่ดินมาแสดงพร้อมบัตรประจำ ตัวประชาชนของผู้ยินยอม
• เมื่อได้รับอนุญาตให้ปลูกสร้างบ้านเรือนหรืออาคารเสร็จแล้วเจ้าของบ้านจะ ต้องยื่นคำร้องขอมีเลขบ้านที่งานทะเบียนราษฎร โดยนำหลักฐาน ดังต่อไปนี้
1. สำเนาทะเบียนบ้านผู้แจ้ง
2.บัตรประจำตัวประชาชนพร้อมสำเนาของผู้แจ้ง
3.หนังสือมอบอำนาจของผู้ขออนุญาตปลูกสร้าง(กรณีที่ผู้ขออนุญาตไม่สามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอง)
4.หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินปลูกสร้าง
5.หนังสือเอกสารการได้รับอนุญาตการปลูกสร้างอาคารหรือบ้านเรือน อ.1
6.แบบแปลนอาคารบ้านเรือน
7.รูปถ่ายอาคารบ้านเรือนที่ขออนุญาต

เมื่อ เจ้าหน้าที่ได้รับคำร้องแล้วก็จะดำเนินการตรวจสอบว่ามีการสร้างอาคารหรือ บ้านเรือนตามที่ขอจริงหรือไม่และถูกต้องตามแปลนหรือไม่เมื่อตรวจสอบแล้วถูก ต้องก็จะอนุญาตให้มีเลขที่บ้านได้

การขอเลขที่บ้านจะต้องดำเนินการอย่างไร
เมื่อเจ้าบ้านได้รับอนุญาตให้มีเลขบ้านได้แล้วให้นำหลักฐานดังกล่าวพร้อม ทั้งใบอนุญาตให้มีเลขบ้านได้ไปแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งท้องที่นั้นๆงาน ทะเบียนฯ เพื่อขอเลขประจำบ้าน ภายใน 15 วันนับแต่ได้รับอนุญาตหากไม่ไปแจ้งตามกำหนดมีความผิดตามกฎหมายโทษปรับไม่ เกิน 1,000 บาท

กรณีที่ปลูกบ้านมานานแต่ยังไม่มีเลขประจำบ้านควรทำอย่างไร
ถ้าปลูกบ้านมานานแล้วแต่ยังไม่มีเลขประจำบ้านเจ้าของบ้านต้องไปยื่นขอคำร้อง ขอเลขประจำบ้านได้ที่กองช่าง โดยนำหลักฐาน ดังต่อไปนี้

1. สำเนาทะเบียนบ้านผู้แจ้ง
2. บัตรประจำตัวประชาชนพร้อมสำเนาของผู้แจ้ง
3. หนังสือมอบอำนาจของผู้ขออนุญาตปลูกสร้าง(ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตไม่สามารถดำเนินการเองได้)
4. หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ปลูกสร้าง
5. รูปถ่ายอาคารที่ขออนุญาต
หลักฐานที่นำมาประกอบการขออนุญาตก่อสร้างดัดแปลงต่อเติมอาคาร
1. คำขออนุญาตก่อสร้าง/ดัดแปลง/ต่อเติมอาคาร
2. แผนผังสังเขป แผนผังบริเวณรายการประกอบแบบแปลนจำนวน 5 ชุด
3. หนังสือแสดงความยินยอมของผู้ควบคุมอาคาร จำนวน 1 ฉบับ
4. สำเนาโฉนดที่ดิน/น.ส.3/ส.ค.1 ที่จะทำการก่อสร้างอาคาร/ดัดแปลงอาคาร/ต่อเติมอาคารขนาดเท่ากับต้นฉบับจริง พร้อมรับรองสำเนาถูกต้องแล้ว จำนวน 1 ฉบับ
5. หนังสือยินยอมให้ก่อสร้างอาคารในที่ดินของเจ้าของทุกคน หรือ จากธนาคาร(กรณีก่อสร้างอาคารในที่ดินของเจ้าของทุกคนหรือจากธนาคาร)กรณีก่อ สร้างอาคารในที่ดินของบุคคลอื่นหรือที่ดินที่ได้จำนองกับธนาคารจำนวน 1 ชุด
6. หนังสือแสดงความเป็นตัวแทนของเจ้าของอาคารหรือหนังสือมอบอำนาจ จำนวน 1 ฉบับ
7. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ที่เกี่ยวข้องค่าธรรมเนียมตรวจแบบแปลน

– อาคารสูงไม่เกิน 2 ชั้นหรือสูงไม่เกิน 12 ม. ค่าธรรมเนียม ตร.ม. ละ 0.50 บาท
– ลานจอดรถ ที่กลับรถ และทางเข้าออกของรถ ค่าธรรมเนียม ตร.ม. ละ 0.50 บาท
– อาคารสูงเกิน 2 ชั้นแต่ไม่เกิน 3 ชั้นหรือสูงเกิน 12 ม. แต่ไม่เกิน 15 ม. ค่าธรรมเนียม ตร.ม.ละ  2.00 บาท
– อาคารสูงเกิน 3 ชั้นหรือสูงเกิน 15ม. ค่าธรรมเนียม ตร.ม.ละ 4.00 บาท
– พื้นที่รับน้ำหนัก 500 กก./1 ตร.ม. ค่าธรรมเนียม ตร.ม.ละ 4.00 บาท
– ป้าย ค่าธรรมเนียม ตร.ม.ละ 4.00 บาท
– รั้ว กำแพง ประตู ท่อระบายน้ำ ค่าธรรมเนียม เมตรละ 1.00 บาท
ค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาต
1. ก่อสร้างอาคาร     ใบละ  20  บาท
2. ดัดแปลงอาคาร    ใบละ  10  บาท
3. รื้อถอนอาคาร      ใบละ  10  บาท
4. ใบอนุญาตเคลื่อนย้าย    ฉบับละ  10  บาท
5. ใบอนุญาตเปลี่ยนการใช้  ฉบับละ  20 บาท
6. ใบรับรอง    ฉบับละ 10 บาท
7. ใบแทนใบอนุญาตหรือใบแทนใบรับรอง  ฉบับละ 5 บาท
ค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบอนุญาต
1. ใบอนุญาตก่อสร้าง      ฉบับละ  20  บาท
2. ใบอนุญาตดัดแปลง     ฉบับละ  10  บาท
3. ใบอนุญาตรื้อถอน       ฉบับละ  10  บาท
4. ใบอนุญาตเคลื่อนย้าย   ฉบับละ  10  บาท

เตือนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าช่วงปิดเทอม

นายแพทย์อำนวย กาจีนะ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า จากปัจจัยสภาพอากาศที่ร้อน ขอเตือนให้ประชาชนระมัดระวังโรคพิษสุนัขบ้า โดยเฉพาะในเด็ก เนื่องจากช่วงนี้เป็นช่วงปิดเทอม ผู้ปกครองควรดูแลบุตรหลานอย่างใกล้ชิด หากอยู่บ้านเล่นกับสุนัข แมว หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ ให้ระมัดระวังอาจถูกกัดหรือข่วน รวมถึงไม่ไปแหย่สุนัขไม่มีเจ้าของ จากข้อมูลเฝ้าระวังโรค สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 1 มีนาคม 2559 พบผู้ป่วย 3 ราย จาก 3 จังหวัด เสียชีวิตทั้ง 3 ราย จังหวัดที่พบผู้เสียชีวิตคือ ระยอง สมุทรปราการ และ สงขลา

view_resizing_imagesนายแพทย์อำนวย กล่าวต่อว่า สาเหตุส่วนใหญ่ของการเสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้าเกิดจากการถูกสุนัขหรือแมว กัดหรือข่วน ซึ่งผู้เสียชีวิตไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า หรือรับการฉีดวัควีนไม่ครบชุด และไม่มีการล้างแผลหรือปฐมพยาบาลก่อนพบแพทย์ เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสสัมผัสโรคมากที่สุด และแม้ว่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา จะพบผู้เสียชีวิตน้อยกว่า 10 รายต่อปี แต่ยังมีการพบเชื้อในสัตว์เป็นจำนวนมาก

โรคพิษสุนัขบ้าหรือโรคกลัว น้ำ เกิดจากเชื้อไวรัสเรบี่ส์ ที่เกิดได้กับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด เช่น สุนัข แมว หนู กระรอก กระต่าย ลิง ค้างคาว เป็นต้น แต่ในประเทศไทยมักพบในสุนัขมากที่สุด การติดเชื้อจะเกิดจากการถูกสัตว์ที่มีเชื้อไวรัสเรบี่ส์กัด ข่วน หรือน้ำลายกระเด็นเข้าทางตา ปาก หรือบาดแผลตามร่างกาย เชื้อจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นบริเวณที่โดนกัดหรือข่วน จากนั้นจะเข้าสู่ระบบประสาท เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายจนกระทั่งเกิดอาการของโรค ส่วนใหญ่จะใช้เวลาประมาณ 2-8 สัปดาห์ แต่อาจสั้นเพียงแค่ 7 วันหรือยาวเกินกว่า 1 ปี ส่วนอาการของโรคพิษสุนัขบ้า เริ่มจาก 2-3 วันแรกผู้ป่วยจะเบื่ออาหาร ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว มีไข้ ชา เจ็บเสียว หรือปวดบริเวณรอยแผลที่ถูกกัด คันอย่างรุนแรงที่แผลและลำตัว ต่อมาจะมีอาการกระสับกระส่าย กลัวแสง กลัวลม ไม่ชอบเสียงดัง เพ้อเจ้อ กลืนลำบาก โดยเฉพาะของเหลว กลัวน้ำ และกล้ามเนื้อขากระตุก แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก หรืออาจชัก เกร็ง อัมพาต หมดสติ และตายในที่สุด

ด้านการป้องกันโรค ขอแนะนำให้ระมัดระวังการสัมผัสสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะลูกสุนัข และเฝ้าระวังเด็กๆ ไม่ให้เล่นกับสัตว์ที่ไม่คุ้นเคย นอกจากนี้ควรนำสัตว์เลี้ยงไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเป็นประจำทุกปี ที่สำคัญต้องขึ้นทะเบียนสัตว์เลี้ยง และเลี้ยงสุนัขอย่างรับผิดชอบ และรู้จักวิธีป้องกันไม่ให้สุนัขกัดหรือทำร้าย ด้วย คาถา 5 ย. “อย่าแหย่ อย่าเหยียบ อย่าแย่ง อย่าหยิบ อย่ายุ่ง กับสุนัขที่ไม่ปรากฏเจ้าของ หรือไม่ทราบประวัติ” จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า

ในโอกาสนี้ ขอเชิญชวนให้ประชาชนนำสุนัขและแมวไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า หากโดนสุนัขหรือแมวกัด ควรรีบล้างแผลให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่หลายๆครั้ง แล้วเช็ดแผลให้แห้งและใส่ยาฆ่าเชื้อ และรีบไปพบแพทย์ โรคพิษสุนัขบ้านั้นไม่มีทางรักษาให้หายได้ หากติดเชื้อและมีอาการแล้ว จะเสียชีวิตทุกราย ดังนั้นหากพบเห็นสัตว์ที่สงสัยว่าอาจเป็นโรคพิษสุนัขบ้า คือมีอาการหางตก เดินโซเซ น้ำลายย้อย ลิ้นห้อย ตาขวาง ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ หรือผู้นำชุมชน และให้ช่วยกันจับอย่างระมัดระวังอย่าให้ถูกกัดหรือข่วน จากนั้นกักสัตว์ไว้ดูอาการ 10 วัน หากสัตว์ตายให้นำหัวสัตว์หรือตัวสัตว์ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการของกรมปศุ สัตว์ต่อไป หากประชาชนมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร 1422

ที่่มา : http://www.muslim4health.or.th/2014/index.php?op=news-detail&id=665#.VxjziEe-O9w

หมาบ้ามีอาการอย่างไร???

อาการในสัตว์แต่ละชนิดอาจแตกต่างกันไปบ้างแต่อาการที่เป้นรูปแบบชัดเจนที่ สุด ได้แก่ อาการในสุนัขและสามรถนำไปเทียบให้แตกต่างกับอาการของสัตว์ชนืิดอื่นได้ อาการของโรคพิษสุนัขบ้าในสุนัข แบ่งเป็น 3 ระยะคือ

อาการเริ่มแรกหรืออาการนำCTrOotaUEAQIhRv
เป็นการเปลี่ยนแปลงอุปนิสัยและพฤติกรรมที่เคยเป็นอยู่ไปในทางที่ตรงกันข้าม กับปกติ จะสามารถเห็นได้ง่ายถ้าเราได้อยู่ใกล้ชิดกับสุนัขที่เลี้ยงไว้เป้นประจำ อาการเริ่มแรกที่พบคือ ถ้าเป็นสุนัขที่เคย สดใสร่าเริงชอบคลุกคลี เล่นกับเจ้าของมักจะมีอาการหงุดหงิด ไม่อยากเข้าใกล้ไม่เล่นเหมือนเดิม หลบซ่อนตัวอยู่ตามมุม ทีมืดต่างๆ และถ้าจะเอามันออกจากที่ซ่อน ก็มักจะเห่าหรืองับเข้าให้ อย่างไม่พอใจ ส่วนสุนัขที่ปกติมักจะหวาดระแวง ก็กลับมีความกล้ามากขึ้น และหากสังเกตใกล้ชิดในบางตัวจะพบว่า ม่านตาจะขยายกว้างกว่าปกติ มีอาการตอบสนองต่อแสงลดลง สุนัขจะแสดงอาการเริ่มแรกนี้ 2-3 วัน หลังจากนั้นโรคก็จะดำเนินเข้าสู่ระยะต่อไป

อาการระยะตื่นเต้น
เป็นอาการของโรคระยะถัดมาที่เห็นชัดเจนที่สุด เมื่อผ่านพ้นอาการนำแล้ว จะมีอาการลุกลี้ลุกลน กระวนกระวานมากขึ้น พยายามจะหนีออกจากบ้านออกจากบริเวณที่เคยอยู่ และหากออกมาได้ ก็จะวิ่งอย่างไร้จุดหมาย มักจะมีอาการแปลกๆ เช่น งับลม หรือกัดกินสิ่งแปลกปลอม ต่างๆที่ขวางหน้า เช่น ก้อนหิน อิฐ ดิน หญ้า เศษไม้ เป็นอาการบ้าคลั่งแบบชัดเจน หากจับขังก้จะกัดกรงอย่างรุนแรงจนเป็นแผลที่ปาก ฟันหักโดยไม่รู้สึกเจ็บปวด เสียงเห่าหอนจะผิดปกติเนื่องจากเกิดอัมพาตของกล้ามเนื้อกล่องเสียงต่อมาจะ เกิดอัมพาตของกล้ามเนื้อที่เกี่ยวกับการเคี้ยวและการกลืน ทำให้ลิ้นห้อยออกนอกปาก น้ำลายไหล ลิ้นมีสีแดงคล้ำ หรือมีร่องรอยของการบอบช้ำ อาจมีอาการอื่นๆที่แปลกไป เช่นอาการเหมือนมีกระดูกหรือก้างติดคอ บางรายแสดงความอยากกินน้ำหรืออาหารแต่ไม่สามารถกินได้ สำหรับอาการกลัวน้ำอย่างชัดเจนเหมือนในคนไม่ใช่อาการที่พบบ่อยในสุนัข ระยะต่อมาลำตัวจะแข็งเกร็ง หางตก ขาหลังเริ่มอ่อนเปลี้ย ซึ่งเป็นอาการที่เริ่มเข้าสู่ระยะอัมพาต โดยมันจะแสดงอาการระยะนี้อยู่ประมาณ 1-7 วัน

ที่มา : http://jack-of-alldisease.blogspot.com/2012/04/symptoms-of-baddog.html

ไข้หวัดไหญ่

ไข้หวัดใหญ่ (Influenza FLU) เป็นโรคที่พบได้บ่อยมากในคนทุกเพศทุกวัย พบได้เกือบทั้งปี แต่จะเป็นมากในช่วงฤดูฝน (ช่วงเดือนกรกฏาคม ถึง ธันวาคม) บางปีอาจพบการระบาดทั่วโลก พบสาเหตุอันดับแรก ๆ ของอาการไข้ที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน แพทย์มักจะให้การวินิจฉัยผู้ใหญ่ที่มีอาการตัว ร้อนมา 2-3 วัน โดยไม่มีอาการอย่างอื่นชัดเจนว่าเป็นไข้หวัดใหญ

สาเหตุ
เกิดจากเชื้อ ไข้หวัดใหญ่ ซึ่งเป็นไวรัสที่มีชื่อว่า อินฟลูเอนซาไวรัส(Influenza virus) เชื้อนี้จะอยู่ในน้ำมูก น้ำลาย หรือเสมหาของผู้ป่วยติดต่อโดยการไอหรือ จาม หรือหายใจรดกัน

ระยะฟักตัว
influenza_virus    มีระยะฟักตัว 1-4 วัน เชื้อไข้หวัดใหญ่มีอยู่ 3 ชนิดใหญ่ เรียกว่า ชนิด เอ บี และ ซี ซึ่งแต่ละชนิดยังแบ่งเป็นพันธุ์ย่อย ๆ ออกไปอีกมากมาย ในการเกิดโรคแต่ละครั้งจะเกิดพันธุ์ย่อยเพียงพันธุ์เดียว เมื่อเป็นแล้วจะมีภูมิต้านทานต่อพันธุ์นั้น แต่ไม่สามารถต้านทางพันธุ์อื่น ๆ ได้จึงอาจติดเชื้อ จากพันธุ์ใหม่ได้ เชื้อไข้หวัดใหญ่บางพันธุ์ อาจผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันทำให้เกิดการระบาดใหญ่ และมีการเรียกชื่อโรคที่ระบาดแต่ละครั้งตามชื่อ ของประเทศที่เป็นแหลงต้นกำหนด เช่น ไข้หวัดใหญ่ ฮ่องกง (เรียก สั้น ๆ ว่าไข้หวัด ฮ่องกง หรือหวัดฮ่องกง),ไข้หวัดรัสเซีย, ไข้หวัดสิงคโปร์เป็นต้น

อาการ
มักจะเกิดขึ้นทันที่ทันใดด้วยอาการไข้สูงหนาว ๆ ร้อน ๆ ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อมาก(โดย เฉพาะที่กระเบนเหน็บ ต้นขา ต้นแขน) ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ขมในคอ อาจมีอาการเจ็บคอ คัดจมูก น้ำมูกใส ไอแห้ง ๆ จุกแน่นท้อง แต่บางราย ก็อาจไม่มีอาการคัดจมูก หรือเป็นหวัดเลยก็ได้ มีข้อสังเกตุว่าไข้หวัดใหญ่มักเป็นหวัดน้อย แต่ไข้หวัดน้อยมักเป็นหวัดมาก ไข้มักเป็นอยู่ 2-3 วัน แล้วค่อย ๆ ลดลง อาการไอ และอ่อนเพลียอาจจะเป็นอยู่ อาจเป็นอยู่ 1-4 สัปดาห์ แม้ว่าอาการอื่น ๆ จะทุเลาแล้วก็ตาม บางคนเมื่อหายจากไข้หวัดใหญ่แล้ว อาจมีอาการวิงเวียนเหมือนเมารถเมาเรือ เนื่องจากมีการอักเสบของอวัยวะการทรงตัวในหูชั้นใน ซึ่งมักจะหายเองภายใน 3-5 วัน

สิ่งที่ตรวจพบ
ไข้ 38.5-40 ํC เปลือกตาแดง อาจมีน้ำมูกใส คอแดงเล็กน้อย หรือไม่แดงเลย(ทั้ง ๆ ที่ผู้ป่วยอาจรู้สึก เจ็บคอ) ส่วนมากมักตรวจไม่พบอาการผิดปกติอื่น ๆ

อาการแทรกซ้อน

  1. ให้การดูแลปฏิบัติตัวเหมือนเป็ฯไข้หวัด คือนอนพัก มาก ๆ ห้ามตรากตรำงานหนัก ห้อมอาบน้ำเย็น ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวเวลามีไข้สูง กินอาหารอ่อน(ข้าวต้ำ โจ๊ก) ดื่มน้ำ และน้ำหวาน หรือน้ำผลไม้ มาก ๆ
    การรักษา
  2. ให้การดูแล และปฏิบัติตัวเหมือนไข้หวัด คือ นอนพักผ่อนมาก ๆ ห้ามตรากตรำงานหนัก ห้ามอาบน้ำเย็น ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ตดตัวเวลามีไข้สูง กินอาหารอ่อน (ข้าวต้มโจ๊ก) ดื่มน้ำลแน้ำหวาน หรือน้ำผลไม้มาก ๆ
  3. ให้ยารักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้บรรเทาปวด ยาแก้ไอ ยาดแก้หวัด เป็นต้น (ในกรณีเด็กควรหลีกเลี่ยงการใช้แอสไพริน)
  4. ยาปฏิชีวนะ ไม่จำเป็นต้องให้ทุกราย เพราะเป็นโรคที่เกิดจากไวรัส จะให้ต่อเมื่อมีภาวะแทรกซ้อนจากเชื้อ แบคทีเรีย เช่น มีน้ำมูกหรือเสลด สีเหลืองหรือเขียว ,ไซนัสอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ หลอดลมอักเสบ เป็นต้น ยาปฏิชีวนะ ที่มีให้เลือกใช้ ได้แก่ เพนวี แอมพิซิลลิน หรือ อีโรโทรมัยซิน
  5. ถ้ามีอาการหอบหรือสงสัยปอดอักเสบ โดยเฉพาะถ้าพบในคนสูงอายุ หรือเด็กเล็ก ควรส่งโรงพยาบาลด่วน ถ้าพบว่าปอดอักเสบ ควรให้ยา ปฏิชีวนะชนิดของเชื้อที่ตรวจพบ

ข้อแนะนำ

  1. โรคนี้ถือว่าไม่ใช่โรคที่ร้ายแรง
  2. อาการไข้สูง ปวดเมื่อย และไม่มีอาการอื่น ๆ ชัดเจน อาจมีสาเหตุจากโรคอื่น ๆ ในระยะเริ่มแรก ก็ได้ เช่น ไข้รากสาดน้อย ตับอักเสบ จากไวรัส ไข้เลือดออก หัด เป็นต้น จึงควรสังเกตอาการเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิด ถ้ามีอาการอื่น ๆ ปรากฎให้เห็นก็ควรให้การรักษา ตามโรคที่สงสัย
    ถ้าหากมีอาการไข้นานเกิน 7 วัน มักจะไม่ใช่ไข้หวัดแต่อาจมีสาเหตุจากโรคอื่น เช่น ไข้รากสาดน้อย มาลาเรีย เป็นต้น ผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัดใหญ่ มักจะมีไข้ไม่เกิน 7 วัน
  3. ไข้หวัด และไข้หวัดใหญ่ บางครั้งอาจมีอาการคล้ายกันมาก แต่ไข้หวัดใหญ๋มักมีไข้สูง และปวดเมื่อยมาก อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ จะแยกกันไม่ออก แต่ก็ให้การดูแลรักษาเหมือน ๆ กัน
  4. การป้องกัน ให้ยาปฏิชีวนะเช่นเดียวกับไข้หวัด ส่วนวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ มักจะฉีดในช่วงที่มีการระบาดใหญ่ ซึ่งจะป้องกัน ได้นานประมาณ 12 เดือน ถ้ามีการระบาดในปีต่อ ๆ ไป ก็ต้องฉีดใหม่อีก โดยทั่วไป ถ้าไม่มีการระบาด จะไม่ฉีดวัคซีนให้แก่คนทั่วไป ทั้งนี้เนื่องจากเชื้อไข้หวัดใหญ่ มีอยู่หลายพันธุ์ เราไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ว่าในการระบาดครั้งต่อไปจะเกิดจากเชื้อชนิดใด

ที่มา : http://www.bknowledge.org/home/page/health/files/23.html

โครงการช่วยเหลือค่าครองชีพประชาชนในพื้นที่ประสพภัยแล้ง

วันที่ 10 มี.ค 2559 นายถวิล กุญชร นายกเทศมนตรีตำบลทุ่งผึ้ง นำคณะผู้บริหาร สมาชิกสภา เจ้าหน้าทีเทศบาลตำบลทุ่งผึ้ง ร่วมต้อนรับ น.ส.อุสา สุทธิปัญญา ตัวแทนพานิชย์จังหวัดลำปาง ตามโครงการช่วยเหลือค่าครองชีพประชาชนในพื้นที่ประสบภัยแล้ง ปี 2558/2559 ซึ่งจังหวัดลำปางร่วมกับกรมการค้าภายใน ได้จัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคที่จำเป็นต่อการครองชีพในราคาที่ต่ำกว่าท้องตลาด ณ เทศบาลตำบลทุ่งผึ้ง โดยมีประชาชนให้ความสนใจเลือกซื้อสินค้าเป็นจำนวนมาก

12801099_1752478254963615_1670293575667587082_n 12803008_1752478591630248_4948074199334849865_n12802945_1752478504963590_2443118931208609045_n 12805989_1752478294963611_960034944606817878_n 1088_1752478408296933_6619565364226793207_n 10351534_1752478354963605_911701804785143979_n 10380999_1752478551630252_1337991284534755313_n 12321389_1752478324963608_4665745158037152800_n 12795478_1752478284963612_1011185958161218473_n

กีฬาต้านยาเสพติด “ทุ่งผึ้งเกมส์”

วันที่ 21 ก.พ 2559 เวลา 08.30 นายจรัญ รูปสะอาด สมาชิสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปางที่ให้เกียรติมาเป็นประธานเปิดงาน กีฬาต้านยาเสพติด “ทุ่งผึ้งเกมส์” ครั้งที่ 13 โดยนายถวิล กุญชร นายกเทศมนตรีตำบลทุ่งผึ้งให้เกียรติต้อนรับ โดยในพิธีเปิดมีหน่วยป้องกันแลรักษาป่าที่ อต 7 (บ้านม่วง) แสดงการบินเครื่องร่อนให้ประชาชนผู้ร่วมงานได้รับชมอีกด้วย

12745458_1747380325473408_5585519712008220434_n12743587_1747380682140039_1192446228421152315_n12733366_1747380352140072_2742426262319243747_n12744722_1747380335473407_8750892915619805227_n 12744295_1747380452140062_5896387719258629655_n 12705531_1747380508806723_2648441557226081474_n12705679_1747380412140066_6658347725528521811_n 12745756_1747380768806697_32318753085537774_n 12729249_1747380428806731_7533988389440185771_n12745795_1747380472140060_2763492249100985092_n 12743651_1747380485473392_4209623691279552271_n10385408_1747380662140041_2712837283148811202_n 12717523_1747380598806714_7839936115727180929_n    12734033_1747380585473382_2044650311375614596_n 12734151_1747380645473376_6616250317289674321_n

อบรมพิทักษ์ป่า

นายถวิล กุญชร นายกเทศมนตรีตำบลทุ่งผึ้ง พร้อมด้วยสมาชิกสภาเทศบาล เจ้าหน้าที่ ให้การต้อนรับ ผู้อำนวยการสำนักจัดการทรัพยกรป่าไม้ที่ 3 (ลำปาง) และเข้าร่วมพิธีอัญเชิญธงพิทักษ์ป่าและผ้าพันคอพระราชทาน ในโครงการฝึกอบรมราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า รุ่นที่ 4 ประจำปี 2559 ระหว่างวันที่ 15-18 ก.พ 2559 ณ. สำนักงานเทศบาลตำบลทุ่งผึ้ง

12657406_887462931351016_8653008620592274299_o12697045_887462971351012_6581956463700919010_o 12695016_887462921351017_8503444386247993169_o12716337_887462691351040_1527121526227956172_o 12671788_887462464684396_4253059214368821582_o 12716157_887462574684385_7321968560430167896_o 12716328_887462468017729_8841826543277031014_o10258508_887462621351047_2850151019178841550_o

กีฬาท้องถิ่น

คณะผู้บริหาร สมาชิกสภาเทศบาลและเจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลทุ่งผึ้ง เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาท้องถิ่นสัมพันธ์ ครั้งที่ 8
ณ โรงเรียนบ้านแม่ตา โดยองค์การบริหารส่วนตำบลปงดอน เป็นเจ้าภาพ

12694644_881574975273145_1125853325708983274_o 12496195_881574965273146_1197987956494669788_o12694738_881575328606443_1202489438688303600_o12697183_881574955273147_6185576401232956507_o 12622104_881575161939793_2376398431199895672_o886839_881575398606436_1946880869578046726_o 12696904_881575425273100_220456276674417013_o