คลังเก็บหมวดหมู่: คู่มือ/แนวทางการให้บริการประชาชน(คู่มือประชาชน)

คู่มือปฏิบัติงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่

คู่มือปฏิบัติงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่

การจดทะเบียนพาณิชย์

ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนพาณิชย์
คือ บุคคลธรรมดาคนเดียว หรือหลายคน (ห้างหุ้นส่วนสามัญ) หรือนิติบุคคลรวมทั้งนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่มาตั้ง สำนักงานสาขาในประเทศไทย ซึ่งประกอบกิจการ อันเป็นพาณิชยกิจตามที่กระทรวงพาณิชย์กำหนดพาณิชยกิจที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้ออกประกาศให้ผู้ประกอบกิจการดังต่อไปนี้ ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ คือ

1. ผู้ประกอบกิจการโรงสีข้าวและโรงเลื่อยที่ใช้เครื่องจักร
2. ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าไม่ว่าอย่างใดๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่าง คิดรวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งขายได้เป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป หรือมีสินค้าดังกล่าวไว้เพื่อขายมีค่ารวมทั้งสิ้นเป็นเงินตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป
3. นายหน้าหรือตัวแทนค้าต่างซึ่งทำการเกี่ยวกับสินค้าไม่ว่าอย่างใด ๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตาม และสินค้านั้นมีค่ารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป
4. ผู้ประกอบกิจการหัตถกรรมหรืออุตสาหกรรมไม่ว่าอย่างใด ๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตาม และ ขายสินค้าที่ผลิตได้ คิดราคารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไปหรือในวันหนึ่งวันใด มี สินค้าที่ผลิตได้มีราคารวมทั้งสิ้นตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป
5. ผู้ประกอบกิจการขนส่งทางทะเล การขนส่งโดยเรือกลไฟหรือเรือยนต์ประจำทาง การขนส่งโดยรถไฟ การขนส่งโดยรถราง การขนส่งโดยรถยนต์ประจำทาง การขายทอดตลาด การรับซื้อขายที่ดิน การให้กู้ยืมเงิน การ รับแลกเปลี่ยน หรือซื้อขายเงินตราต่างประเทศ การซื้อหรือขายตั๋วเงิน การธนาคาร การโพยก๊วน การทำโรงรับ จำนำ และการทำโรงแรม
6. ขาย ให้เช่า ผลิต หรือรับจ้างผลิต แผ่นซีดี แถบบันทึก วีดิทัศน์ แผ่นวีดิทัศน์ ดีวีดี หรือแผ่นวีดิทัศน์ ระบบดิจิตอล เฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง
7. ขายอัญมณี หรือเครื่องประดับซึ่งประดับด้วยอัญมณี
8. ซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่าย อินเตอร์เน็ต บริการ อินเตอร์เน็ต ให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย บริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
9. การให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้อินเตอร์เน็ต
10. การให้บริการฟังเพลงและร้องเพลงโดยคาราโอเกะ
11. การให้บริการเครื่องเล่นเกมส์
12. การให้บริการตู้เพลง
13. โรงงานแปรสภาพ แกะสลักและการหัตถกรรมจากงาช้าง การค้าปลีก การค้าส่งงาช้างและผลิตภัณฑ์จากงาช้าง
กำหนดระยะเวลาการจดทะเบียนพาณิชย์
1. จดทะเบียนพาณิชย์ตั้งใหม่ ต้องจดทะเบียนภายใน 30 วันนับแต่วันเริ่มประกอบพาณิชยกิจ
2. การเปลี่ยนแปลงรายการที่จดทะเบียนไว้ตาม (1) ต้องจดทะเบียนภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง
3. เลิกประกอบพาณิชยกิจ ต้องจดทะเบียนภายใน 30 วันนับแต่วันที่เลิกประกอบพาณิชยกิจ
4. ใบทะเบียนพาณิชย์สูญหายต้องยื่นขอใบแทนภายใน 30 วันนับแต่วันสูญหาย
หน้าที่ของผู้ประกอบพาณิชยกิจ
1. ต้องขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนดตามแต่กรณี
2. ต้องแสดงใบทะเบียนพาณิชย์หรือใบแทนใบทะเบียนพาณิชย์ไว้ ณ สำนักงานในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย
3. ต้องจัดให้มีป้ายชื่อที่ใช้ในการประกอบพาณิชยกิจไว้หน้าสำนักงานแห่งใหญ่และ สำนักงานสาขาโดย เปิดเผยภายในเวลา 30 วันนับแต่วันที่จดทะเบียนพาณิชย์ ป้ายชื่อให้เขียนเป็นอักษรไทย อ่านง่ายและชัดเจน จะมีอักษร ต่างประเทศในป้ายชื่อด้วยก็ได้ และจะต้องตรงกับชื่อที่จดทะเบียนไว้ หากเป็นสำนักงานสาขาจะต้องมีคำว่า “สาขา” ไว้ด้วย
4. ต้องไปให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับรายการจดทะเบียนตามคำสั่งของนายทะเบียน
5. ต้องอำนวยความสะดวกแก่นายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งเข้าทำการตรวจสอบในสำนักงานของผู้ประกอบกิจการ
เอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียน ได้แก่
1. คำขอจดทะเบียนพาณิชย์ (แบบ ทพ.)
2. สำเนาบัตรประจำตัวของผู้ประกอบพาณิชยกิจ
3. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ประกอบพาณิชยกิจ
4. กรณีผู้ประกอบพาณิชยกิจมิได้เป็นเจ้าบ้าน  ต้องแนบเอกสารเพิ่มเติม  ดังนี้
4.1 หนังสือให้ความยินยาอมให้ใช้สถานที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่
4.2 สำเนาทะเบียนบ้านที่แสดงให้เห็นว่าผู้ให้ความยินยอมเป็นเจ้าบ้านหรือสำเนา สัญญาเช่าโดยมีผู้ให้ความยินยอมเป็นผู้เช่า  หรือเอกสารอย่างอื่นที่ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เป็นผู้ให้ความยินยอม
4.3 แผนที่แสดงสถานที่ซึ่งใช้ประกอบพาณิชยกิจและสถานที่สำคัญบริเวณใกล้เคียงโดยสังเขป
5. หนังสือมอบอำนาจ  (ถ้ามี)
6. สำเนาบัตรประจำตัวของผู้รับมอบอำนาจ (ถ้ามี)
บทกำหนดโทษ
1. ประกอบพาณิชยกิจโดยไม่จดทะเบียน แสดงรายการเท็จ ไม่ยอมให้ถ้อยคำ ไม่ยอมให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้า ไปตรวจสอบในสำนักงาน มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท กรณีไม่จดทะเบียนอันเป็นความผิด ต่อเนื่อง ปรับอีกวันละไม่เกิน 100 บาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ
2. ถ้าใบทะเบียนพาณิชย์สูญหายไม่ยื่นคำร้องขอใบรับแทน หรือไม่แสดงใบทะเบียนพาณิชย์ไว้ที่สำนักงาน ที่เห็นได้ง่าย ไม่จัดทำป้ายชื่อ มีความผิดปรับไม่เกิน 200 บาท และถ้าเป็นความผิดต่อเนื่อง ปรับอีกวันละไม่เกิน 20 บาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
3. ผู้ประกอบพาณิชยกิจซึ่งกระทำการฉ้อโกงประชาชน ปนสินค้าโดยเจตนาทุจริต ปลอมสินค้า หรือกระทำการทุจริตอื่นใดอย่างร้ายแรงในการประกอบกิจการจะถูกถอนใบทะเบียน พาณิชย์ เมื่อถูกสั่งถอนใบทะเบียน พาณิชย์แล้วจะประกอบกิจการต่อไปไม่ได้ เว้นแต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์จะสั่งให้รับจดทะเบียนพาณิชย์ใหม่
4. ผู้ประกอบพาณิชยกิจที่ถูกสั่งถอนใบทะเบียนพาณิชย์แล้ว ยังฝ่าฝืนประกอบพาณิชยกิจต่อไป มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือทั้งปรับทั้งจำ
ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนพาณิชย์
การขอดำเนินการตาม พ.ร.บ. ทะเบียนพาณิชย์ฯ จะต้องเสียค่าธรรมเนียมตามประเภทของการดำเนินการดังต่อไปนี้
1. จดทะเบียนพาณิชย์ตั้งใหม่ 50 บาท
2. จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงรายการจดทะเบียน ครั้งละ 20 บาท
3. จดทะเบียนเลิกประกอบพาณิชยกิจ 20 บาท
4. ขอให้ออกใบแทนใบทะเบียนพาณิชย์ ฉบับละ 30 บาท
5. ขอตรวจเอกสารของผู้ประกอบพาณิชยกิจรายหนึ่ง ครั้งละ 20 บาท
6. ขอให้เจ้าหน้าที่คัดสำเนาและรับรองสำเนาเอกสารของผู้ประกอบพาณิชยกิจรายหนึ่ง ฉบับละ 30 บาท

งานทะเบียนราษฎร

ทะเบียนบ้าน คือ ทะเบียนประจำบ้านแต่ละบ้าน ซึ่งแสดงเลขประจำบ้าน และรายการของคนทั้งหมดที่อยู่ในบ้าน
เจ้าบ้าน หมายถึง ผู้ซึ่งเป็นหัวหน้าครอบครองบ้านในฐานะเป็นเจ้าของบ้าน ผู้เช่าหรือในฐานะอื่นใดก็ตาม

การแจ้งเกิด
เมื่อมีคนเกิดในบ้านจะต้องทำอย่างไรบ้าง เจ้าบ้าน หรือบิดามารดา จะต้องแจ้งเกิดต่อนายทะเบียนท้องที่นั้น ภายใน 15 วัน นับแต่วันเกิด

ในกรณีที่เด็กเกิดนอกบ้าน ควรทำอย่างไรบ้าง
ให้บิดาหรือมารดา หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้แจ้งต่อนายทะเบียน ผู้รับแจ้ง แห่งท้องที่ที่พึงแจ้งได้ใน 15 วัน นับแต่วันเกิดหรือในกรณีจำเป็นไม่อาจแจ้งได้ตามกำหนดให้แจ้งภายหลังได้ แต่ไม่เกิน 30 วัน

ผู้แจ้งเกิดจะต้องเตรียมเอกสารและดำเนินการอย่างไรบ้าง
1. ให้แจ้งชื่อตัว – ชื่อสกุล ของเด็กเกิดใหม่ พร้อมสำเนาทะเบียนบ้านที่จะเพิ่มชื่อ
2. แจ้งวัน เดือน ปี และสถานที่เกิด ถ้ามีหนังสือรับรองการเกิดจากสถานพยาบาลให้นำมาแสดงด้วย
3. แจ้งชื่อตัว – ชื่อสกุล สัญชาติและที่อยู่ของบิดาและมารดาของเด็ก
4. แจ้งชื่อตัว – ชื่อสกุล และที่อยู่ของผู้แจ้งเกิดตามหลักฐานสำเนาทะเบียนบ้าน หรือบัตรประจำตัวประชาชนที่นำไปแสดง
5. กรณีเด็กที่เกิดในโรงพยาบาล เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลจะเป็นผู้แจ้งเกิดให้

สูติบัตร หรือใบเกิด คืออะไร
สูติบัตร คือหลักฐานที่ทางราชการออกให้เพื่อใช้พิสูจน์ทราบถึงตัวบุคคล และใช้เป็นหลักฐานอ้างถึงสิทธิต่างๆ กรณีถ้าพบเด็กในสภาพแรกเกิด หรือเด็กอ่อนถูกทอดทิ้ง จะต้องนำเด็กแจ้งต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ หรือเจ้าหน้าที่ประชาสงเคราะห์ ในท้องถิ่นที่พบเด็ก

การแจ้งตาย
การแจ้งตาย ควรแจ้งในระยะเวลาเท่าไร การแจ้งตายควรแจ้งภายใน 24 ชั่วโมง

ถ้ามีคนตายในบ้านควรจะทำอย่างไรบ้าง
กรณีที่มีคนตายในบ้านให้เจ้าบ้านเป็นผู้แจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ ที่มีคนตายภายใน 24 ชั่วโมง

กรณีที่พบศพคนตาย ควรทำอย่างไรบ้าง
ถ้าหากพบศพคนตาย ผู้พบศพ ต้องแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนตายหรือพบศพภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่พบศพ ในกรณีนี้จะแจ้งต่อพนักงานปกครองหรือเจ้าหน้าที่ตำรวจก็ได้

การแจ้งตายจะต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง
1. หนังสือรับรองการตาย (ถ้ามี)
2. บัตรประจำตัวประชาชนผู้มาแจ้ง
3. บัตรประจำตัวประชาชนผู้ตาย (ถ้ามี)
4. สำเนาทะเบียนบ้าน ฉบับเจ้าบ้านที่คนตายมีชื่อและรายการบุคคล (ถ้ามี)

การแจ้งย้ายที่อยู่
เมื่อผู้อยู่ในบ้านย้ายออกจากบ้านให้แจ้งย้ายออกภายในกี่วัน ควรแจ้งย้ายออกภายใน 15 วัน นับแต่

วันที่ย้ายออกจากบ้าน
เมื่อมีผู้ย้ายที่อยู่เข้าอยู่ในบ้านให้แจ้งย้ายเข้าภายในกี่วัน ควรแจ้งย้ายเข้าภายใน 15 วันนับแต่วันที่ย้ายเข้ามาอยู่ในบ้าน

หลักฐานในการแจ้งย้ายมีอะไรบ้าง
1. สำเนาทะเบียนบ้าน
2. ใบแจ้งย้ายที่อยู่ ตอนที่ 1 และตอนที่ 2
3. บัตรประจำตัวประชาชนเจ้าบ้าน
4. บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้ง

ถ้าหากต้องการแจ้งย้ายที่อยู่ปลายทาง ต้องทำอย่างไรบ้าง
ผู้ที่ย้ายที่อยู่สามารถไปแจ้งย้ายออกและย้ายเข้า ณ สำนักทะเบียนปลายทางผู้ย้ายที่อยู่เป็นผู้แจ้งย้ายด้วยตนเองต้องนำบัตรประจำ ตัวประชาชนสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านพร้อมคำยินยอมเป็นหนังสือของเจ้า บ้านบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านที่ย้ายเข้าไปอยู่ใหม่

ถ้าต้องการแจ้งย้ายออกต้องทำอย่างไรบ้าง
การแจ้งย้ายออกจะต้องนำบัตรประจำตัวประชาชน (กรณีแจ้งย้ายตัวเอง) สำเนาทะเบียนบ้าน ฉบับเจ้าบ้านที่มีชื่ออยู่ ติดต่อกับเจ้าหน้าที่ขอแจ้งย้ายออก และในกรณีที่จะย้ายผู้อื่นออกจากบ้านท่าน เจ้าบ้านจะต้องนำทะเบียนบ้าน ฉบับเจ้าบ้าน บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าของบ้านพร้อมทั้งแจ้งย้ายสถานที่ที่จะแจ้งย้าย ชื่อเข้าไปอยู่ใหม่

การปลูกสร้างอาคารบ้านเรือน ที่อยู่อาศัยในเขตเทศบาล

การปลูกสร้างอาคาร บ้านเรือน ที่อยู่อาศัย ให้ไปติดต่อยื่นคำขอให้ที่กองช่างพร้อมหลักฐาน ดังนี้
1.สำเนาโฉนดที่ดิน หรือเอกสารสิทธิที่ดิน จำนวน 1 ฉบับ
2.บัตรประจำตัวประชาชน ผู้ขออนุญาตพร้อมสำเนา จำนวน 1 ฉบับ
3.สำเนาทะเบียนบ้านผู้ขออนุญาต จำนวน 1 ฉบับ
4.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้ยินยอม (เจ้าของที่ดิน) ในกรณีไม่ได้ปลูกสร้างบนที่ดินของตนเอง จำนวน 1 ฉบับ และสำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน 1 ฉบับ
5.แบบก่อสร้างจำนวน 5 ชุดถ้าไม่สามารถมายื่นคำร้องด้วยตนเองได้จะต้องทำหนังสือมอบอำนาจให้ผู้อื่นมาดำเนินการแทนได้

• ถ้าที่ดินที่จะปลูกสร้างไม่ได้เป็นที่ของตนเองจะต้องทำอย่างไร ผู้ยื่นคำร้องจะต้องมีหนังสือยินยอมจากเจ้าของที่ดินมาแสดงพร้อมบัตรประจำ ตัวประชาชนของผู้ยินยอม
• เมื่อได้รับอนุญาตให้ปลูกสร้างบ้านเรือนหรืออาคารเสร็จแล้วเจ้าของบ้านจะ ต้องยื่นคำร้องขอมีเลขบ้านที่งานทะเบียนราษฎร โดยนำหลักฐาน ดังต่อไปนี้
1. สำเนาทะเบียนบ้านผู้แจ้ง
2.บัตรประจำตัวประชาชนพร้อมสำเนาของผู้แจ้ง
3.หนังสือมอบอำนาจของผู้ขออนุญาตปลูกสร้าง(กรณีที่ผู้ขออนุญาตไม่สามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอง)
4.หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินปลูกสร้าง
5.หนังสือเอกสารการได้รับอนุญาตการปลูกสร้างอาคารหรือบ้านเรือน อ.1
6.แบบแปลนอาคารบ้านเรือน
7.รูปถ่ายอาคารบ้านเรือนที่ขออนุญาต

เมื่อ เจ้าหน้าที่ได้รับคำร้องแล้วก็จะดำเนินการตรวจสอบว่ามีการสร้างอาคารหรือ บ้านเรือนตามที่ขอจริงหรือไม่และถูกต้องตามแปลนหรือไม่เมื่อตรวจสอบแล้วถูก ต้องก็จะอนุญาตให้มีเลขที่บ้านได้

การขอเลขที่บ้านจะต้องดำเนินการอย่างไร
เมื่อเจ้าบ้านได้รับอนุญาตให้มีเลขบ้านได้แล้วให้นำหลักฐานดังกล่าวพร้อม ทั้งใบอนุญาตให้มีเลขบ้านได้ไปแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งท้องที่นั้นๆงาน ทะเบียนฯ เพื่อขอเลขประจำบ้าน ภายใน 15 วันนับแต่ได้รับอนุญาตหากไม่ไปแจ้งตามกำหนดมีความผิดตามกฎหมายโทษปรับไม่ เกิน 1,000 บาท

กรณีที่ปลูกบ้านมานานแต่ยังไม่มีเลขประจำบ้านควรทำอย่างไร
ถ้าปลูกบ้านมานานแล้วแต่ยังไม่มีเลขประจำบ้านเจ้าของบ้านต้องไปยื่นขอคำร้อง ขอเลขประจำบ้านได้ที่กองช่าง โดยนำหลักฐาน ดังต่อไปนี้

1. สำเนาทะเบียนบ้านผู้แจ้ง
2. บัตรประจำตัวประชาชนพร้อมสำเนาของผู้แจ้ง
3. หนังสือมอบอำนาจของผู้ขออนุญาตปลูกสร้าง(ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตไม่สามารถดำเนินการเองได้)
4. หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ปลูกสร้าง
5. รูปถ่ายอาคารที่ขออนุญาต
หลักฐานที่นำมาประกอบการขออนุญาตก่อสร้างดัดแปลงต่อเติมอาคาร
1. คำขออนุญาตก่อสร้าง/ดัดแปลง/ต่อเติมอาคาร
2. แผนผังสังเขป แผนผังบริเวณรายการประกอบแบบแปลนจำนวน 5 ชุด
3. หนังสือแสดงความยินยอมของผู้ควบคุมอาคาร จำนวน 1 ฉบับ
4. สำเนาโฉนดที่ดิน/น.ส.3/ส.ค.1 ที่จะทำการก่อสร้างอาคาร/ดัดแปลงอาคาร/ต่อเติมอาคารขนาดเท่ากับต้นฉบับจริง พร้อมรับรองสำเนาถูกต้องแล้ว จำนวน 1 ฉบับ
5. หนังสือยินยอมให้ก่อสร้างอาคารในที่ดินของเจ้าของทุกคน หรือ จากธนาคาร(กรณีก่อสร้างอาคารในที่ดินของเจ้าของทุกคนหรือจากธนาคาร)กรณีก่อ สร้างอาคารในที่ดินของบุคคลอื่นหรือที่ดินที่ได้จำนองกับธนาคารจำนวน 1 ชุด
6. หนังสือแสดงความเป็นตัวแทนของเจ้าของอาคารหรือหนังสือมอบอำนาจ จำนวน 1 ฉบับ
7. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ที่เกี่ยวข้องค่าธรรมเนียมตรวจแบบแปลน

– อาคารสูงไม่เกิน 2 ชั้นหรือสูงไม่เกิน 12 ม. ค่าธรรมเนียม ตร.ม. ละ 0.50 บาท
– ลานจอดรถ ที่กลับรถ และทางเข้าออกของรถ ค่าธรรมเนียม ตร.ม. ละ 0.50 บาท
– อาคารสูงเกิน 2 ชั้นแต่ไม่เกิน 3 ชั้นหรือสูงเกิน 12 ม. แต่ไม่เกิน 15 ม. ค่าธรรมเนียม ตร.ม.ละ  2.00 บาท
– อาคารสูงเกิน 3 ชั้นหรือสูงเกิน 15ม. ค่าธรรมเนียม ตร.ม.ละ 4.00 บาท
– พื้นที่รับน้ำหนัก 500 กก./1 ตร.ม. ค่าธรรมเนียม ตร.ม.ละ 4.00 บาท
– ป้าย ค่าธรรมเนียม ตร.ม.ละ 4.00 บาท
– รั้ว กำแพง ประตู ท่อระบายน้ำ ค่าธรรมเนียม เมตรละ 1.00 บาท
ค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาต
1. ก่อสร้างอาคาร     ใบละ  20  บาท
2. ดัดแปลงอาคาร    ใบละ  10  บาท
3. รื้อถอนอาคาร      ใบละ  10  บาท
4. ใบอนุญาตเคลื่อนย้าย    ฉบับละ  10  บาท
5. ใบอนุญาตเปลี่ยนการใช้  ฉบับละ  20 บาท
6. ใบรับรอง    ฉบับละ 10 บาท
7. ใบแทนใบอนุญาตหรือใบแทนใบรับรอง  ฉบับละ 5 บาท
ค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบอนุญาต
1. ใบอนุญาตก่อสร้าง      ฉบับละ  20  บาท
2. ใบอนุญาตดัดแปลง     ฉบับละ  10  บาท
3. ใบอนุญาตรื้อถอน       ฉบับละ  10  บาท
4. ใบอนุญาตเคลื่อนย้าย   ฉบับละ  10  บาท